เล่าเรื่องเมืองจันทบูรณ์
::::::<< คำขวัญจังหวัดจันทบุรี >> น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูรณ์ สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี ::::::  
          
>> ข้อมูลทั่วไป
>> ทำเนียบรายพระนามและ
รายนามของผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรี
รูปกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์เปล่งแสงเป็นประกายหมายถึง
ความสวยงามเยือกเย็นละมุนละไมเปรียบได้กับความสงบ รื่นรมย์
และร่มเย็นเป็นสุขของภูมิภาคนี้
เป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ ซึ่งชาวไทยโดยทั่วไป
เชื่อว่ามีอยู่นั้นมาแต่ดึกดำบรรพ์ เช่นเดียวกับที่จันทบุรีเป็นเมืองโบราณ
มีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารมาตั้งแต่แรกสร้าง กรุงศรีอยุธยา

 
ธงประจำจังหวัดจันทบุรี
กล้วยไม้เหลืองจันท์
ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

 

ความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี

   เมืองจันทบุรีเป็นเมืองเก่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น่าเชื่อว่าเมืองจันทบุรีมีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี  
และเป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงเมืองพิมาย เพชรบูรณ์ และลพบุรี เพื่อเป็นจุดเผยแพร่ วัฒนธรรมของขอม
ไปสู่อาณาจักรทวาราวดี (ศูนย์กลาง คือ บริเวณนครปฐมปัจจุบัน) หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า ควนคราบุรี
ชาวบ้านเรียกว่า เมืองนางกาไว ตามชื่อผู้ครองเมืองตั้งอยู่หน้าเขาสระบาปปัจจุบันเหลือแต่ซากตัวเมืองและซากกำแพงเมือง
พอให้เห็นเค้าอยู่ ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นพวกชอง มีภาษาพูดของตนเองแตกต่างจากภาษาไทย และภาษาเขมร
ต่อมาเมื่อไทยตั้งอาณาจักรสุโขทัย ขอมเสื่อมอำนาจลงจนในที่สุดก็ต้องเสียเมืองแถบชายฝั่งตะวันออกให้แก่ไทย
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จันทบุรีจึงกลายเป็นเมืองประเทศราชของไทย
   ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราเมศวรตีเมืองเชียงใหม่ได้ และได้นำเชลยลงมาไว้ยังจันทบุรี นครศรีธรรมราช
และสงขลา จึงทำให้วัฒนธรรมของจันทบุรีคล้ายคลึงกับ ไทยลานนาบ้างตัวอย่าง เช่น ประเพณีการแต่งงาน
จะมีพิธีผูกข้อมือทำขวัญคู่บ่าวสาร และยังมีหมู่บ้านเป็นหลักฐานเรียกว่า บ้านลาว เป็นต้น ในสมัยอยุธยา
ได้มีการย้ายเมืองจันทบุรีมาอยู่บริเวณแม่น้ำจันทบุรีอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ปี พ.ศ.2200) เพื่อสะดวกในการคมนาคม
ติดต่อค้าขาย
 

   ในด้านการสงคราม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยเรามีศัตรูสำคัญ คือ พม่า ดังนั้น เราจะพบว่า กรุงศรีอยุธยา
ทำสงครามกับพม่าบ่อยครั้ง และคราวใดถ้าไทยแพ้พม่ากัมพูชาก็จะคอยซ้ำเติม อยู่เสมอ คือ จะคอยกวาดต้อน
ผู้คน แถบเมืองจันทบุรีไปยังเขมร ซึ่งก่อความแค้นให้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นอย่างมากจึงทรงยกทัพ
ไปตีเขมรแตก และเขมรได้กลายเป็นเมืองขึ้นของไทย จันทบุรีจึงได้อยู่อย่างสงบต่อมาจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ไทยทำสงครามกับพม่าอีก และไทยเสียเปรียบพม่าอย่างมากทั้งกำลังทหารและกำลังใจของประชาชน ทั้งนี้ เนื่อง จากความวุ่นวายในราชสำนัก

 
   ในระหว่างการทำสงครามกับพม่านั้น จันทบุรีมีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ ประการแรก กรมหมื่นเทพพิพิธ
ซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้หนีมาอยู่เมืองจันทบุรีหลังจากคิดกบฏ
เพื่อชิงราชบัลลังก์คืนให้แก่เจ้าฟ้าอุทุมพร แต่ไม่สำเร็จจึงได้ถูกควบคุมตัวมาไว้ที่จันทบุรี เมื่อพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2310 ท่านได้แต่งกองโจรโดยเกณฑ์ชาวเมืองจันทบุรีไปคอยดักซุ่มโจมตีทัพพม่าอยู่เสมอ แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถ ขับไล่พม่าออกไปได้แล้ว ก็ได้ปราบปรามชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนเจ้าพิมายด้วย ประการที่สอง คือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ตีแหวกวงล้อมพม่หนีมาจาก กรุงศรีอยุธาทรงเลือกเอาจันทบุรีเป็นชัยภูมิตั้งค่ายซ่องสุมกำลังไพร่พลและได้นำกองทหารจากจันทบุรี ไปรบ
กับพม่ากอบกู้เอกราชคืนมาได้  เข้ายึดเมืองจันทบุรี เพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพล
ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน (ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม)
ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาโดยหวังว่าพระยาจันทบูรณ์จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป
ได้ต่อต้านกองทัพ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ
รักษาแผ่นดินไว้ให้้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมือง จนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัย
ไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา
 
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 3) ได้มีการขยายเมืองจันทบุรีจากบ้านลุ่ม ไปอยู่บริเวณ ค่ายเนินวง
บริเวณวัดโยธานิมิตรเพื่อเตรียมการป้องกันทัพญวนที่จะยกเข้ามาตีจากทะเลเมืองใหม่มีลักษณะเป็นเมืองป้อมปราการ
มีกำแพงล้อมรอบแต่ประชาชนย้ายตามขึ้นมาน้อยส่วนใหญ่ยังคงอยู่บริเวณบ้านลุ่มเพราะอยู่ติดแม่น้ำสะดวกแก่การคมนาคม
ติดต่อค้าขาย ดังนั้น สมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้ย้ายเมืองกลับมายังเมื่องเก่าดั่งเดิม
 

   ในสมัยรัชกาลที่ 5 ( พ.ศ. 2436) ไทยเราได้มีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการเขมรส่วนนอก อันได้แก่
พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ซึ่งเป็นของไทย จึงได้เข้ายึดจันทบุรีเป็นประกัน นานถึง 11 ปีเศษ มีหลักฐานการยึดครองของฝรั่งเศส เหลือให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ เช่น คุกขี้ไก่ ตึกแดง โบสถ์คริสต์ เป็นต้น เหตูการณ์ครั่งนั้น
ฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสส่วนไทยได้อ้างว่าดินแดนดังอ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย
ฝ่ายไทยเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาดโดยฝ่ายไทยต้องยอมยกดินแดน
ที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาทโดยจนกว่าจะดำเนินการ
เสร็จฝรั่ังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางไทยดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายไทยจึงต้องยอมยก
เมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาไทยยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมือง
ประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรกัมพูชา

 
  ในด้านการปกครองของจันทบุรี นั้น ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 จันทุบรีก็มีการปกครองเหมือนกับหัวเมืองต่าง ๆ
โดยทั่วไป คือ มีเจ้าเมืองปกครองเป็นอิสระ แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจปกครองครอบคุมพื้นที่กว้างขวางกว่าแต่ก่อน ทรงริเริ่มให้มีการรวมอำนาจไปไว้
ศูนย์กลาง จึงได้จัดการปกครองแบบมณฑลขึ้น โดยส่งข้าราชการจากส่วนกลางไปเป็นผู้บังคับบัญชาให้ขึ้น
กับส่วนกลาง จันทบุรีก็รวมอยู่ในมณฑลหนึ่ง เรียกว่ามณฑลบูรพาหรือมณฑลเขมร
 

   ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้มีการปรับปรุงการปกครองแบบมณฑลเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เพราะต้องการริดรอนอำนาจ
ของเจ้าเมืองอย่างเด็ดขาด แต่การดำเนินการมิได้ทำพร้อมกันทั่วพระราชอาณาจักร ได้เริ่มทำเมื่อ พ.ศ. 2437 และสำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2485 เฉพาะมณฑลจันทบุรี นั้น ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2449 พร้อมกับมณฑลปัตตานี

 
   ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ จึงได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
เสียเพราะต้องการจะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคมาก  ดังนั้น ในปัจจุบัน จันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัด..
 
   
   


: งานสารสนเทศ

 

last update 24-jul-12