![]() |
||
|
||
พฤติกรรมผู้บริโภค “ลำไยอบแห้ง” ในตลาดประเทศจีน |
||
โดย ... ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ศูนย์ศึกษาและจัดการความรู้จีน-GMS วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
||
1.บทนำลำไยอบแห้ง เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแก่ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไยที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย อุตสาหกรรมการแปรรูปและส่งออกผลลำไยทั้งในรูปของผลลำไยสดและลำไยอบแห้ง จึงนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของภาคการเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปในพื้นที่ โดยมีประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของลำไยอบแห้งจากประเทศไทยกล่าวคือ มากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งไทยถูกส่งไปยังตลาดประเทศจีนโดยตรง ยังไม่นับรวมอีกกว่าร้อยละ 20 ที่เป็นการส่งออกลำไยอบแห้งไทยผ่านเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ลาว และฮ่องกงก่อนจะไปสิ้นสุดในตลาดประเทศจีนเช่นเดียวกัน จึงนับได้ว่าจีนเป็นเป็นตลาดนำเข้าลำไยอบแห้งสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทย (อริยา และคณะ, 2553) สาเหตุที่ทำให้ชาวจีนนิยมบริโภคลำไยอบแห้งส่วนหนึ่งเพราะชาวจีนมีความเชื่อที่ว่า ลำไยอบแห้งมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับโสม โดยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่เสียเลือดมาก หรืออยู่ในภาวะที่ต้องการฟื้นฟูร่างกาย รวมไปถึงสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายในช่วงฤดูหนาว มีสรรพคุณที่คล้ายคลึงกับโสม ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกและเป็นที่นิยมกันมากทางตอนเหนือของประเทศจีน ขณะที่ลำไยจะปลูกมากในพื้นที่ทางตอนใต้ จึงมีผู้ให้คำนิยมยกย่องพืชทั้งสองชนิดนี้ว่า “เหนือมีโสม ใต้มีลำไย” ในอดีตลำไยจัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพที่มีราคาสูง จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (luxury goods) เหมาะสำหรับมอบเป็นของฝากหรือของขวัญแด่ผู้ใหญ่ที่มีความเคารพนับถือ หรือของฝากแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ อย่างไรก็ตาม ลำไยอบแห้งยังมิใช่ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วไปดังเช่นโสม เพราะพื้นที่ที่ มีการบริโภค หรือนำลำไยอบแห้งมาเป็นของฝากหรือของขวัญนั้นจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่มณฑลในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ซึ่งประกอบไปด้วยมณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู มณฑลอันฮุย มณฑลเจียงซี และมหานครเซี่ยงไฮ้ ดังแสดงในรูปที่ 1 ด้วยมณฑลที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นมณฑลในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ซึ่งมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ติดกับมณฑลฝูเจี้ยน เป็นมณฑลซึ่งในอดีตมีการเพาะปลูกลำไยมากที่สุดของประเทศจีน จึงทำให้มณฑลในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเป็นพื้นที่ที่ นิยมบริโภคลำไยอบแห้งนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เฉพาะเขตดังกล่าวเพียงเขตเดียวมีการบริโภคลำไยอบแห้งมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดภายในประเทศจีน ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ มิใช่พื้นที่ในการบริโภคลำไยอบแห้ง (Pongpatcharatorntep, 2553) |
||
รูปที่ 1: พื้นที่การผลิตและพื้นที่การบริโภคลำไยอบแห้ง (เขตมณฑลสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี) ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นแสดงว่าการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคในพื้นที่ต่างๆ จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกลำไยอบแห้งของไทย เพราะเป็นปัจจัยต่อการกำหนดความต้องการซื้อและระดับราคาของลำไยอบแห้ง ในบทความนี้จึงทำการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้บริโภคลำไยอบแห้งในเขตพื้นที่มณฑลสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ๆ มีความนิยมบริโภคลำไยอบแห้งมากที่สุดของประเทศจีน และสรุปผลเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคลำไยอบแห้งในประเทศจีน ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสมต่อไป |
||
2.พฤติกรรมผู้บริโภคลำไยอบแห้งไทยในตลาดประเทศจีนข้อมูลจากการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้บริโภคลำไยอบแห้งในตลาดค้าปลีกสินค้าเกษตรแปรรูป และห้างโมเดิร์นเทรด เขตเมืองหังโจว และมหานครเซี่ยงไฮ้ |
||
![]() |
||
รูปที่ 2 : ร้านขายลำไยอบแห้งในตลาดเมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง ตารางที่ 1 พฤติกรรมการบริโภคลำไยอบแห้งของผู้ซื้อในห้างโมเดิร์นเทรดและค้าปลีกใน มหานครเซี่ยงไฮ้และ เมืองหังโจว จำนวน 80 ตัวอย่าง |
||
ที่มา : Pongpatcharatorntep (2551) ในส่วนที่หนึ่งผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคลำไยอบแห้งจำนวน 80 ตัวอย่าง ของผู้ซื้อลำไยอบแห้งในห้างโมเดิร์นเทรดและค้าปลีกเขตเมืองหังโจวและเซี่ยงไฮ้ โดยเป็นการสอบถามวัตถุประสงค์ในการซื้อลำไยอบแห้ง และเหตุผลประกอบการตัดสินใจซื้อ ผลลัพธ์ที่ได้แสดงในตารางที่ 1 ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นที่ได้ดังนี้
|
||
ข้อมูลจากการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการการค้าลำไยอบแห้งในตลาดมณฑลสามเหลี่ยม |
||
![]() |
||
รูปที่ 3 : ร้านค้าส่งลำไยอบแห้งไทยในเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ศูนย์กลางการกระจายลำไยอบแห้งที่สำคัญในมณฑลเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เพื่อความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคลำไยอบแห้งในตลาดจีนให้ครอบคลุม ผู้ศึกษายังได้ทำการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากหน่วยธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานลำไยอบแห้ง ได้แก่ ผู้ประกอบการค้าส่งในตลาดค้าส่งลำไยอบแห้ง และผู้ประกอบการค้าส่งลำไยอบแห้งสู่ห้างโมเดิร์นเทรด โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคจะมาจากสามด้านดังนี้
|
||
|
||
|
||
3.ภาพรวมแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคลำไยอบแห้งในตลาดประเทศจีนเมื่อหนึ่งพันปีก่อน ลำไยถูกใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ โดยเมืองในการปกครองทางตอนใต้คือมณฑลฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง ใช้เป็นเครื่องบรรณาการมอบถวายแด่จักรพรรดิ์แห่งอาณาจักรจีนที่อยู่ทางตอนเหนือ ขณะที่เมื่อประมาณร้อยปีที่ผ่านมาเมื่อมีการอบลำไยเกิดขึ้น ลำไยอบแห้งก็เป็นสิ่งที่เหล่าขุนนางชั้นสูง และพ่อค้าผู้มั่งคั่งใช้เป็นของขวัญ ของฝากหรือของไหว้ที่แสดงถึงสถานภาพทางสังคมของตน ขณะที่เมื่อประมาณสิบปีก่อนหน้านี้ลำไยอบแห้งยังคงสถานภาพแห่งการเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้พ่อค้า ข้าราชการ และคนชั้นกลางในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันลำไยอบแห้งกลับกลายเป็นเพียงสินค้าของว่างของกินเล่น บทบาทของลำไยอบแห้งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของตลาดลำไยอบแห้ง สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศจีน โดยบอกเล่าผ่านเรื่องราวของสินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตดำรงสถานภาพมากกว่าการเป็นเพียงแค่สินค้าที่ใช้สำหรับบริโภคปกติธรรมดาดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตลำไยอบแห้งในประเทศไทยต้องพึงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง |
||
4.บทสรุปจากขนาดของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคลำไยอบแห้งในประเทศจีนที่เปลี่ยนไป ทำให้การส่งเสริมให้ผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการส่งออกมิใช่ทางเลือกที่ดีต่ออนาคตของอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งไทย เพราะท้ายที่สุดด้วยขนาดของตลาดที่จำกัดจะทำให้ราคาขายไม่คุ้มค่ากับต้นทุน ผู้ผลิตจึงควรหันมามุ่งเน้นการผลิตลำไยอบแห้งคุณภาพที่มีส่วนต่างกำไรสูงกว่าลำไยอบแห้งทั่วไป ทั้งนี้นิยามของคำว่า “คุณภาพ” ก็คือการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค กรณีของตลาดลำไยอบแห้งในประเทศจีนนั้น คำว่า “คุณภาพ” ของลำไยอบแห้งเมื่อพิจารณา |
||
เอกสารอ้างอิง
|
||
|
||
|
||
รวบรวมนำเสนอโดย เสาวคนธ์ นุสติ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ |
||
ข่าว : งานสารสนเทศ |
||
|
||
ปรับปรุงเมื่อ
12-May-2015
|
||