#เกษตรจันท์ ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ในการติดตามการใช้งบประมาณเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทำหมันแมลงวันผลไม้ (แมลงวันทอง) ณ พื้นที่ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาววิชชุดา ตองอ่อน หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางเพ็ญทิวา คุณวัฒน์ เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ในการติดตามการใช้งบประมาณเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทำหมันแมลงวันผลไม้ (แมลงวันทอง) ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดยนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผุ้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง นายเฉลย สัมเภาพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง นายศุภโชค ศาลากิจ รองประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา และนายทศพล แทนรินทร์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ ผู้แทนจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง และเยี่ยมชมแปลงเกษตรกร (นายปรีชา คณาญาติ) เป็นจุดสาธิตปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นเขตพื้นที่นำร่องในการใช้ประโยชน์แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมัน ต้นแบบการควบคุมแมลงวันผลไม้ ระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดประชากรแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ให้อยู่ในระดับต่ำ (FTD ≤ มุ่งสู่การขอรับรองเป็นเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงวันผลไม้ระดับต่ำ (Area of Low Pest Prevalence for Fruit Flies) แห่งแรกของประเทศไทย และจะเป็นแห่งแรกในอาเซียน สร้างต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ (Area-wide Integrated Pest Management : AW-IPM) อีกทั้งได้ขยายพื้นที่ควบคุมเพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของแมลงวันผลไม้ไปในอีก 2 พื้นที่ คือ บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี และตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งมีเป้าหมายในการควบคุม ปริมาณแมลงที่ 5 ตัว/กับดัก/วัน (FTD ≤ 5)

สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานในพื้นที่ ปฏิบัติการภาคสนามร่วมกับเกษตรกรและชุมชน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เก็บข้อมูล ทดสอบ ทดลองเทคนิคต่างๆ ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น ลดความเสียหายให้กับประเทศไทย คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปีจากผลผลิตที่เน่าเสียและปัญหาการส่งออก อันจะนำไปสู่ประเด็นสารเคมีตกค้างในผลผลิตกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและกระทบการส่งออกของประเทศ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *