#เกษตรจันท์ ต้อนรับคณะอนุกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมิน “จังหวัดสะอาด” ปี 2568 พร้อมจัดแสดงนิทรรศการ ภายใต้แนวคิด 4B SMART WASTE SMART FARM
วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมิน “จังหวัดสะอาด” ปี 2568 นำโดยนายกริชชัย ศิลปรายะ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประธานคณะอนุกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กลุ่มจังหวัดต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืน) ภายใต้โมเดล “จันท์สะอาด” ที่เน้นสร้างค่านิยม “คนจันท์รักสะอาด” และส่งเสริมแนวทางการจัดการขยะอย่างครบวงจร ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้ ได้แก่ หลัก 4Rs หรือ “4 ช.” ได้แก่ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่และปฏิเสธการใช้ ตลอดจนหลัก “3 หมด” ได้แก่ ทานให้หมด ลดแต่งจาน และแยกน้ำ-เศษอาหารก่อนทิ้ง โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชน เข้าร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมตากสิน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดแสดงนิทรรศการ 4B SMART WASTE SMART FARM นำเสนอเทคโนโลยี จากเกษตรต้นแบบ นายณัฐวุฒิ จันทร์เรือง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง จนประสบความสำเร็จ ด้วยแนวคิด “ใช้ของเหลือให้เกิดค่า พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พึ่งพาตนเอง สร้างสวนที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม” Biochar สารคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ได้จากการเผาชีวมวลในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (Pyrolysis) ไม่สมบูรณ์จนกลายเป็นเถ้า มีลักษณะเป็นถ่านดำ เนื้อเบา มีรูพรุนสูง Biomass ก๊าซที่ได้จากการย่อยสลายของเสียอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) โดยมี มีเทน (CH₄) เป็นองค์ประกอบหลัก Biogas ก๊าซที่ได้จากการย่อยสลายของเสียอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) โดยมี มีเทน (CH₄) เป็นองค์ประกอบหลัก และ Biodiesel เชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันใช้แล้ว โดยกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) นอกจากนี้ยังได้มีนิทรรศการและงานวิจัยจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่นำเปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด ซึ่งเป็นขยะเหลือทิ้งในสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพจากเปลือกทุเรียน ของสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี การทำผลิตภัณฑ์ของใช้ เครื่องเรือน ของที่ระลึก และวัสดุทดแทนไม้ จากผลและเปลือกมังคุด ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และการทำเม็ดดินเผามวลเบาจากเปลือกทุเรียนและมังคุดสำหรับการปลูกพืช ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ณ บริเวณโถงแสงจันทร์ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี