#เกษตรจันท์ ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิ
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิ
วันพุธที่ 21 สิงหาคม
วันที่ 19 – 20
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาค
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิง
วันพฤหัสบดีที่ 18 กร
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม
วันอังคารที่ 16 กรกฎ
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 โดยมีนายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอขลุง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และพี่น้องเกษตรกรชาวตำบลตรอกนอง ณ ที่ทำการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องดินและปุ๋ยให้เกษตรกรในพื้นที่ โดยเป็นแหล่งบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ดินพร้อมให้คำแนะนำการใส่ปุ๋ยพืช จำหน่ายปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี และราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สามารถใช้บำรุงดูแลรักษาต้นพืช ได้แก่ แคลเซียมโบรอน น้ำหนักคุณภาพสูง ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตลงได้
จากการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ ว่าศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง มีความเข้มแข็งด้านการบริหารงานของสมาชิก เป็นศูนย์กลางในการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านดินและปุ๋ยให้กับชุมชนแบบครบวงจรอย่างแท้จริง อีกทั้งสามารถเป็นต้นแบบด้านดินและปุ๋ยให้กับเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและต่อจังหวัดจันทบุรีได้อย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด เกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน เกษตรอำเภอสอยดาว พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว ร่วมกับนายกสมาคมชาวสวนลำไยจังหวัดจันทบุรี สมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้ประกอบการรับซื้อลำไยในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิต 2567/2568 ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด ตลอดจนศึกษาหาแนวทางการควบคุมคุณภาพผลผลิตฯ (การผลิตลำไยให้ปลอดศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผลผลิตลำไย) ตลอดจนการบริหารจัการแรงงาน และผู้รับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยที่เข้ามาในช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ฯลฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
โดยที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้
1.มอบหมายให้หน่วยงานทึ่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางการใข้สารเคมีที่ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดสารพิษตกค้างในผล สมุดบันทึกการใช้สารเคมีของเกษตรกร การขึ้นทะเบียนสายเก็บลำไย ฯลฯ
2.ทั้งนี้ คณะทำงานจะมีการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ สหกรณ์การเกษตรโป่งน้ำร้อนจำกัด ต่อไป
Continue reading →วันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2567 นายพุฒิพงษ์ โพธิ์พานิช หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม เข้าร่วมการอบรมการใช้เอกสารและการจัดการระบบควบคุมภายในกลุ่ม ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP กิจกรรมขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP’s ICS จัดโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มีความเข้าใจในเรื่องการผลิตมังคุดตามมาตรฐาน GAP และการใช้เอกสารระบบควบคุมภายใน GAP’s ICS โดยมีเป้าหมาย คือ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รวม 25 ราย
ในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 เป็นกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เกี่ยวกับการจัดการระบบควบคุมภายในของกลุ่ม และการใช้แบบฟอร์มต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบฟอร์มการตรวจประเมินแปลงภายใน พร้อมทั้งให้กลุ่มเป้าหมายฝึกปฏิบัติการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ณ ที่ทำการกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และวันที่ 20 สิงหาคม 2567 เป็นการศึกษาดูงาน ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่หนองบอน ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยมีประธานวิสาหกิจชุมชนฯ และคณะ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดและสำนักงานเกษตรอำเภอบ่อไร่ บรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่หนองบอนทั้งในด้านขั้นตอนการประมูลมังคุด การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการตลาด พร้อมทั้งลงพื้นที่แปลงเรียนรู้การผลิตมังคุดที่ได้มาตรฐาน เพื่อศึกษาการจัดการแปลงในพื้นที่จริง ซึ่งเกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits และเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบภายในกลุ่มฯ ต่อไป
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอท่าใหม่ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 โดยมีว่าที่พันตรีชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอท่าใหม่ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลเขาวัว มีความโดดเด่นในเรื่องการยกระดับเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน มีการขยายผลการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาไปยังเกษตรกรในชุมชนจากเดิม มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดแบบเชื้อแห้งและชนิดหัวเชื้อน้ำในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มน้ำส้มควันไม้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำหมักเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เพื่อให้เกษตรกรได้เลือกใช้ เพื่อควบคุมการระบาดของศัตรูพืชในสวนทุเรียนของตนเองได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนต้นแบบของจังหวัดจันทบุรี ที่มีการเรียนรู้ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนการจัดทำแปลงเรียนรู้การกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานสามารถเป็นต้นแบบในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วยการใช้ชีวภัณฑ์ทดแทน ส่งผลดีต่อระบบนิเวศ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกร จึงถือได้ว่าศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว เป็นศูนย์กลางในการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับชีวภาพให้ชุมชนแบบครบวงจรอย่างแท้จริง เป็นจุดเรียนรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช มีเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนา ต่อยอดสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและจังหวัดจันทบุรีต่อไปได้
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอนายายอาม และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ ครั้งที่ 2 โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม ณ วัดคลองบอน อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรชาวอำเภอนายายอามและอำเภอใกล้เคียง
การจัดแสดงนิทรรศการด้านอารักขาพืช ได้แก่ นิทรรศการ”เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ถุงห่อคัดเลือกช่วงแสง “Magik Growth ปุ๋ยคีเลต ธาตุอาหาร รอง-เสริม ระบบการให้น้ำอัจฉริยะ กับดักแสงไฟ ชีวภัณฑ์จัดการโรคและแมลง ,นิทรรศการเรื่องแมลงวันผลไม้ และการแข่งขันดักจับแมลงวันผลไม้ โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นิทรรศการเรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และแสดงผลงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตจันทบุรี นิทรรศการเรื่องดิน-ปุ๋ย จากสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี นิทรรศการเรื่อง เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี จากกลุ่มกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี นิทรรศการและแสดงผลงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีเกษตรกรมาเข้าร่วมรับบริการไม่น้อยกว่า 150 คน ถือได้ว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรที่มาจะได้รับบริการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชเบื้องต้นรวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของพืช แบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์และองค์ความรู้ด้านการเกษตร มาสู่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการเปิดงาน ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอท่าใหม่ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องเกษตรกรชาวอำเภอท่าใหม่ ณ วัดเขาลูกช้าง หมู่ 8 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมกับถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีด้านการเกษตรต่างๆ ให้แก่เกษตรกรไปในคราวเดียวกัน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่งเพราะเกษตรกรจะได้รับ บริการด้านการเกษตรแบบครบวงจรในทุกๆ ด้าน ซึ่งเป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านการเกษตร มาให้บริการแก่พี่น้องเกษตรกรถึงในพื้นที่ ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย กิจกรรมลงนามถวายพระพร พิธีถวายพระพรชัยมงคล นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ การตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ บริการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรและการบริการอื่นๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขเบื้องต้น โดยกิจกรรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วมรับบริการมากกว่า 200 ราย ทั้งนี้ หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขในวันนี้จนแล้วเสร็จจะมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดตามผลการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ต่อไป
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมพิจารณาการประกวดศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในชุมชนที่ประสบปัญหาเรื่องดินเสื่อมคุณภาพ ต้นทุนการผลิตสูง โดยยึดหลักการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาความรู้แก่สมาชิกและเกษตรกรในชุมชน ให้สามารถจัดการดินและใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ อีกทั้งเป็นแหล่งบริการผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือใกล้เคียงค่าวิเคราะห์ดิน บริการผสมปุ๋ยเคมีตามสูตร จัดหาแม่ปุ๋ยเคมี บริการเครื่องผสมปุ๋ย เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตได้
ศดปช. ตำบลตรอกนอง ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งผลิตปุ๋ยคุณภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ยังได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพและส่งเสริมให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม ถายทอดผลการดำเนินงานผ่านแปลงเรียนรู้ด้านการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุยอินทรีย์ด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะและจุดสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชน สามารถเข้ามาเรียนรู้และใช้บริการ พร้อมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อร่วมกันพัฒนาการผลิตองค์ความรู้ เป็นเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เชื่อมโยงกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่และกลุ่มอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
Continue reading →วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอแหลมสิงห์ เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะทำงานประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2567 ในการลงพื้นที่พิจารณาวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ นำโดยนางวชิรา ไฝเจริญมงคล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร ประธานคณะทำงานการประกวดฯ ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี การกล่าวต้อนรับคณะทำงานฯ ร่วมด้วยนายอำเภอแหลมสิงห์ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวชุมชนตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดำเนินกิจการภายใต้ วิสัยทัศน์ “สืบสานภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่าผลผลิต เสริมรายได้แก่ชุมชน มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล” โดยมีประธานชื่อนางวัลลี ใจเย็น มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดที่จะนำผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำมาเพิ่มมูลค่า จึงเกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ วางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในด้านต่างๆ โดยเฉพาะมังคุดที่เป็นเนื้อแก้ว ยางไหล แตกที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ นำมาแปรรูปเป็นมังคุดกวน ชีสมังคุด รวมถึงทุเรียนที่ตกเกรด จำหน่ายได้ในราคาถูก นำมาเพิ่มมูลค่าเป็นเมี่ยงคำทุเรียนกรอบ ทุเรียนทอดและแครกเกอร์หน้าทุเรียน ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุดิบเป็นผลผลิตในชุมชน โดยได้รับซื้อผลผลิตของสมาชิกในชุมชน เกิดรายได้หมนุเวียนในชุมชน ผลิตสินค้าแปรรูปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีสินค้าแปรรูปมากกว่า 20 ชนิด ผลิตภัณฑ์เด่นที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่ ต้มยำโป๊ะแตก ปูอบโอ่ง ปลาอบกระวาน เส้นจันท์ผัดปูอบกรอบ ผัดไทยกุ้งกรอบ
บริษัท รสมือจันท์ จำกัด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ได้ยกระดับมาตรฐานการผลิต การบริหารจัดการ ผ่านการจัดทำแผนธุรกิจ จนได้ก่อตั้งเป็นบริษัท รสมือจันท์ จำกัด เกิดโอกาสสำหรับช่องทางการตลาดกับคิงเพาเวอร์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ได้จำหน่ายอยู่ใน Duty Free สนามบินสุวรรณภูมิ และในปี 2567 ได้ขยายฐานการตลาดกับ บริษัท ซีพี ออลล์ ไม่เพียงเท่านี้ยังขยายกิจการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ได้ดำเนินการในรูปแบบ “ท่องเที่ยวเชิงเกษตร” ควบคู่ไปกับ“การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร” และยังเป็นสถานที่สำหรับศึกษาดูงานให้กับผู้ที่สนใจทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำชุมชนเข้มแข็ง อีกทั้งกระบวนการผลิต สอดคล้องกับการพัฒนา 3 ด้านสอดคล้อง BCG Model มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ล้วนส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นอย่างแท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำแผนการพัฒนาแปลงใหญ่ จังหวัดจันทบุรี บุคคลเป้าหมายได้แก่ ผู้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2565-2567 ณ โรงแรมสอยดาว กู๊ดวิว รีสอร์ท ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ มีความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ เข้าใจประเด็นการพัฒนาและการขับเคลื่อนงาน ผ่านกลุ่มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ของตนเอง สามารถจัดทำแผนการพัฒนาและแผนการติดตามงานของแปลงใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการแปลงใหญ่ดีเด่น จากนางสาวบุษบา นาคพิพัฒน์ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี แปลงใหญ่ดีเด่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ ปี 2566 นางสาวดวงพร เวชสิทธิ์ รองประธานแปลงใหญ่มังคุด ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฎ และนายพิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ ฝ่ายการตลาดแปลงใหญ่มังคุด ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี หรือ แปลงใหญ่มังคุด KMK แปลงใหญ่ดีเด่น รางวัลชมเชย ระดับประเทศ ปี 2561 และรางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประเภทรวมใจแก้จน ปี 2565
เวทีเสวนานี้ถอดบทเรียนฯ ในวันนี้เป็นการพูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้ผู้ฟังมีแนวคิดในการบริหารจัดการกลุ่มได้เข้าใจประเด็นการพัฒนาและการขับเคลื่อนงาน ผ่านกลุ่มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ผลการจัดสัมมนาในวันนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานแปลงใหญ่ โดยต่างมีความเห็นตรงกันว่าแปลงใหญ่จะเป็นแนวทางที่ทำให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีของเรามีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรต่อไป
Continue reading →วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมรับพันธุ์กล้าไม้ ภายใต้โครงการ 72 ล้านต้น พลิกฟื้นผืนป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดโครงการฯ ณ โถงแสงจันทร์ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งใน 10 โครงการที่ดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฯนี้ โดยจิตอาสาทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกป่าและบำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ คืนอากาศสะอาดให้กับประชาชน โดยตั้งเป้าหมายและการปลูกป่าทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 72 ล้านต้น โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการรับจัดหาพันธุ์กล้าไม้และรวบรวมข้อมูลการปลูกต้นไม้ของทุกหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มบุคคล ถือเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมทำกิจกรรม ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและความสามัคคีของปวงชนชาวไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และร่วมกันสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการพัฒนางานด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้มีความยั่งยืนสืบไป
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรต้นแบบ ศพก. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในประเด็น Growth Mind Set & Anti Fragile การปรับความคิดรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ภายใต้หัวข้อ รู้ทันโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในไม้ผล รับมือสภาพอากาศที่แปรปรวน และการจัดการแมลงศัตรูพืชในไม้ผล พัฒนาสู่ต้นแบบเกษตรปลอดภัย โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ ดร. ธิติ ทองคำงาม และอาจารย์สุกฤตา อนุตระกูลชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี พร้อมอุปกรณ์การประกอบการบรรยายนอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ รวมถึงวิธีการจัดการในสวนของตนเองกับวิทยากรและเครือข่ายผู้เข้าร่วมอบรมรายอื่นๆ บุคคลเป้าหมายประกอบด้วยประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์เครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 ราย ณ ห้องประชุมไพลิน ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบ
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางลำไพร ปรีชาโชติ เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ดีเด่น ประจำปี 2567 ระดับเขต นำโดยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และได้รับเกียรติจากนายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ อำเภอขลุง กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง เป็นหนึ่งในศูนย์บริการด้านดินและปุ๋ยแบบครบวงจรของจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง มีบริการตรวจวิเคราะห์พร้อมให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ย จำหน่ายแม่ปุ๋ยและปุ๋ยสูตรต่างๆ ทั้งปุ๋ยสูตรตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตรใกล้เคียงค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสูตรทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งให้บริการปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด นอกจากนี้ยังบริการให้เช่าใช้เครื่องผสมปุ๋ย และจำหน่ายผบิตภัณฑ์คุณภาพอื่นๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักคุณภาพสูง แคลเซียมโบรอน เป็นต้น มีการบริหารจัดการและการขยายผลการส่งเสริมการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต จนเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนได้ สร้างแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงบริการงานวิชาการ จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ย พร้อมจัดทำแปลงเรียนรู้ และจุดสาธิตให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสามารถศึกษาดูงานและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวณัฐกาญจน์ ศรีทิพย์ เกษตรอำเภอแหลมสิงห์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมสิงห์ ร่วมต้อนรับคณะทำงานการประกวดวิสาหกิจชุมชน ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567 โดยได้รับเกียรติจากนางสาวรัศมินท์ พฤกษาทร นายอำเภอแหลมสิงห์ กล่าวต้อนรับ ณ รสมือจันท์ (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ สาขา 2) หมู่ที่ 3 ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยนางวัลลี ใจเย็น ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ เป็นผู้นำเสนอผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา การตอบข้อซักถามของสมาชิก การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดขึ้นและสถานที่ผลิตของกลุ่มอีกด้วย
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ เริ่มจากกลุ่มเกษตรกรที่มีแนวคิดนำผลผลิตทางการเกษตรที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำมาเพิ่มมูลค่า ได้ประชุมปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันกับสมาชิกในการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน โดยจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 จากการดำเนินงานทำให้ชุมชนมีรายได้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นำเอาผลผลิตเอกลักษณ์ของเมืองจันท์มาใส่ในผลิตภัณฑ์ด้วย มีผลิตภัณฑ์เด่นที่สร้างชื่อเสียง คือ ต้มยำโป๊ะแตก ปูอบโอ่ง ปลาอบกระวาน เส้นจันท์ผัดปูอบกรอบ ผัดไทยกุ้งกรอบ สามารถนำไปเป็นของขวัญสู่ผู้บริโภคได้ ปัจจุบันได้ยกระดับก่อตั้งเป็น บริษัท รสมือจันท์ จำกัด ท้องถิ่น ภายใต้หลักคิดในการดำเนินกิจการที่ว่า “การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น” ไม่เพียงเท่านี้ยังได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้มีการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการการถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกอยู่เป็นประจำ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา 3 ด้านสอดคล้อง BCG Model ตลอดกระบวนการผลิต
จากความละเอียดอ่อนและความตั้งใจผลิตทุกขั้นตอน การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 20 ชนิด และยอดสั่งซื้อและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี จนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสถานที่ศึกษาดูงานให้ผู้ที่สนใจตลอดทั้งปี นับเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนและสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
Continue reading →วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางศิริรัตน์ สมนึก เกษตรอำเภอท่าใหม่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ดีเด่น ประจำปี 2567 ระดับเขต นำโดยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และได้รับเกียรติจากนายสานิตย์ สุจันทร์ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ ปลัดอาวุโสอำเภอท่าใหม่ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว มีการบริหารจัดการภายใต้คณะกรรมการที่เป็นผู้นำชุมชน มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดเชื้อสด เชื้อแห้ง และหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต มีการผลิต น้ำเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง และพร้อมที่จะพัฒนา และรับเทคโนโลยี เป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ที่ให้บริการและพัฒนาให้ชุมชนอย่างครบวงจร ถือเป็นแบบอย่างของการช่วยเหลือและพึ่งพาตนเอง ถือเป็นความสำเร็จของงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่อำเภอท่าใหม่และอำเภออื่นๆในจังหวัดจันทบุรี
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด ตามโครงการพัฒนาเกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปี พ.ศ. 2567 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย Young Smart Farmer เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 60 ราย โดยมี นางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร เป็นวิทยากรกระบวนการ และมีนางลำไพร ปรีชาโชติ เกษตรอำเภอขลุง กล่าวให้การต้อนรับ ณ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่อำเภอขลุง ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมในวันนี้เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเครือข่ายเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการจัดกระบวนการให้เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นศูนย์กลางออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อมุ่งเป้าหมายให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ มีแนวคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการเป็นที่พึ่งแก่เพื่อนเกษตรกร เป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น และเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้แก่เยาวชน เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ทำให้ภาคการเกษตรเกิดความก้าวหน้า ขยายผลการพัฒนาไปสู่เกษตรกรรายอื่น ตลอดจนเป็นผู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรและองค์กรเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับเกียรติจากนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในเปิดงานฯ ณ เทศบาลตำบลวังแซ้ม หมู่ที่ 2 ตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
ภายในงานจัดให้มีบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง รับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขเบื้องต้น แก่พี่น้องประชาชนจากพื้นที่อำเภอมะขามและพื้นที่อำเภอใกล้เคียง รูปแบบดำเนินงานเป็นไปด้วยลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่างนักวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมทั้งนำอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่าง ๆ มาให้บริการในคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ถึงในระดับตำบล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการทางการเกษตรได้อย่างทั่วถึงครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมบริการมากกว่า 100 ราย ก่อให้ผลสำเร็จตามภารกิจที่รับผิดชอบในเชิงรุกทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับบริการทางการเกษตรอย่างรวดเร็วทั่วถึงและครบวงจร
นายพุฒิพงษ์ โพธิ์พานิช หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยนางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม ร่วมดำเนินกิจกรรมขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP’s Internal Control System : ICS ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีนางอมรรัตน์ ลิมป์สุคนธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ดำเนินกิจกรรมในการประเมินศักยภาพและความพร้อมเบื้องต้นของกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดทำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) สำหรับขอการรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม ซึ่งการขอรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม จะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่าย สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม เพิ่มอำนาจต่อรองทางด้านราคา ช่วยลดระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงานของภาครรัฐที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอท่าใหม่ เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะจากกรมการพาณิชย์มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการเดินทางมาเยือนจังหวัดจันทบุรี โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้นำในการต้อนรับ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ประชุมห้องตากสิน ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
ในการเดินทางลงพื้นที่นำโดย นาง กู้ หมิ่น (Mrs. Gu Min) รองอธิบดีกรมการพาณิชย์มลฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีความประสงค์ร่วมหารือความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตร อาทิ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมกันนี้ได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการทุเรียน ณ โรงคัดบรรจุ คุณสัญชัย วิเศษศรี (เฮียสมชาย-เจ๊หนิง) อำเภอท่าใหม่ ชมกระบวนการควบคุมคุณภาพในการส่งออก และวิธีการผลิตทุเรียนคุณภาพจาก นายยุทธยงค์ พาที แปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 7 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มอารักพืช นางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม ร่วมต้อนรับคณะทัศนศึกษาวิถีเกษตรยุวเกษตรกรไทย สมาคมยุวเกษตรกรสากลแห่งประเทศไทย (International Farm Youth Exchange Association of Thailand : IFYE Thailand) ณ สวนบีบี (ทุเรียนน้ำกร่อย) ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
สมาคมยุวเกษตรกรสากลแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการจัดตั้ง และได้รับการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนผ่าน IFYF ของประเทศต่างๆ ทั้งในลักษณะโครงการและรายกิจกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี ให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจากต่างประเทศ
ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 28 ราย จากหลายประเทศ อาทิเช่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรจากนางสาวบุษบา นาคพิพัฒน์ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และนางสาวธันยากร วงษ์หงส์ ตัวแทน YSF อำเภอนายายอาม และทายาทสวนบีบี พร้อมกันนี้ยังได้แลกเปลี่ยนการประสบการณ์การดำเนินงานยุวเกษตรกร และนำเสนอการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยเป็นการท่องเที่ยวที่เสริมสร้างความรู้ด้านการเกษตรควบคู่กับการพักผ่อนและความบันเทิง นักท่องเที่ยวสามารถร่วมสัมผัสวิถีชีวิต เกษตรกร ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชน รวมถึงการซื้ผลผลิตทางการเกษตรจากชุมชน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกรที่สร้างจุดขายให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมเปิดงาน “จันทบุรีเกษตรแฟร์ 2567” ชม ช้อป ชิม แชะ ผลไม้พรีเมียม สินค้าทางการเกษตร นวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อผลักดันจันทบุรีสู่การเป็น “มหานครแห่งผลไม้เมืองร้อน” ท่ามกลางบรรยากาศแบบ “Fruitival & Food” โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และนายยิ่งยศ พันธุ์เอี่ยม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
“จันทบุรีเกษตรแฟร์” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-26 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00-21.00 น. ณ ลานข้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ภายในงานมีนิทรรศการที่รวบรวมอัตลักษณ์ของผลไม้จังหวัดจันทบุรี มีการนำสินค้าแปรรูปจากผลไม้มาจัดแสดง รวมถึงมีนิทรรศการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ซึ่งถ้าเกษตรกรและผู้ประกอบการมางานนี้จะได้รับองค์ความรู้ในการนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน ส่วนในมุมของนักท่องเที่ยวก็จะได้พบกับนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดจันทบุรี และยังมีนิทรรศการภาพถ่ายของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี ที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการมาเที่ยวจันทบุรี โดยสายชิม สายช้อป พลาดไม่ได้เพราะในงานนี้ รวบรวมสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้พรีเมียม ของกินขึ้นชื่อของทั้งจังหวัดจันทบุรี และอาหารเด็ด ผลิตภัณฑ์ OTOP อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ในเวทีกลางของงานก็จะมีกิจกรรมการเสวนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร การสาธิตทำอาหารอัตลักษณ์ของจันทบุรี พร้อมการแสดงจากศิลปินชั้นนำของประเทศ พร้อมการแสดงทางวัฒนธรรมร่วมสมัย เรียกได้ว่ามางานนี้ครบทุกมิติของรสชาติแห่งความสุข”
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันฉัตรมงคล (วันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งจัดโดยศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอท่าใหม่ โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรม ร่วมด้วยหัวหน้าและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนจิตอาสา ทำความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ บริเวณวัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกิจกรรมกระจายมังคุดคุณภาพออกนอกแหล่งผลิต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับเกียรติจากนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ถือเป็นการกระจายมังคุดคุณภาพจากแหล่งผลิตในภาคตะวันออกสู่ผู้บริโภคและส่งเสริมการบริโภคไม้ผลคุณภาพภาคตะวันออกให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ณ บริเวณร้านค้าสวัสดิการกรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพ : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี , กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
Continue reading →วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี (Provincal Monthly Meeting : PM) ครั้งที่ 4/2567 โดยมีหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อชี้แจงการขับเคลื่อนนโยบายของจังหวัดจันทบุรี และกรมส่งเสริมการเกษตรสู่การปฏิบัติในพื้นที่ พร้อมหารือแนวทางการดำเนินงาน และการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรในสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีให้เป็นไปตามบทบาทความรับผิดชอบ โดยมีวาระที่สำคัญ ดังนี้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคม การเตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่การเกษตรจังหวัดจันทบุรี การดำเนินงานโครงการตรวจก่อนตัด (ทุเรียน) ปี 2567 ข้อมูลและสถานการณ์การเก็บเกี่ยวไม้ผลจังหวัดจันทบุรี พร้อมหารือกิจกรรม Press Tour และการอำนวยความสะดวกในการศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรม Big Cleaning Day โดยร่วมกันดูแลความสะอาดอาคารสถานที่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม เพื่อให้ทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทางเดินเท้า แหล่งน้ำ อาคารพัสดุ ณ บริเวณสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ซึ่งการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในวันนี้ถือเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีราชมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยจะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ตลอดทั้งปีมหามงคลนี้
นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอ ประจำเดือนเมษายน 2567 (Monthly Meeting) ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ ผลการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 ดังนี้ รางวัลชมเชย บุคคลทางการเกษตรดีเด่น ประเภท ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ ดาบตำรวจหญิงวรรณวิษา เมืองวงค์ รางวัลชมเชย สถาบันเกษตรกรดีเด่น ประเภท กลุ่มยุวเกษตร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองมะลิฯ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการเพิ่มประสิทธิภาพชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน) ในฤดูกาลผลิต ปี 2567 รายงานการนำความรู้ไปปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และผลการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการวาดแปลง ปี 2567 พร้อมทั้งขอให้เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดจันทบุรี ติดตามการผลิตทุเรียนคุณภาพปลอดภัยมูลค่าสูง และรับฟังปัญหาจากเกษตรกร โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดจันทบุรี และประชาชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ณ สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานสถานการณ์การปลูกทุเรียนของภาคตะวันออกปี 2567 โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีมาตรการป้องกันควบคุมคุณภาพ โดยบูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน ในส่วนของการจัดการช่วงต้นทาง มีมาตรการตรวจก่อนตัดเพื่อตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียน ซึ่งเกษตรกรจะนำผลทุเรียนตัวอย่างมารับบริการที่จุดบริการตรวจก่อนตัด ณ สำนักงานเกษตรอำเภอและจุดให้บริการอื่นที่กำหนด เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตามแต่ละสายพันธุ์ เจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองเพื่อให้เกษตรกรนำไปแนบกับสำเนาใบรับรอง GAP และได้แนะนำให้เกษตรกรสลักด้านหลังสำเนาไว้ทุกครั้งว่าผลผลิตนั้นนำไปส่งที่ไหนอย่างไร เพื่อส่งไปยังแหล่งรวบรวมรับซื้อได้สอบทานที่รับและให้กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจสอบกำกับ
นายสุเทพ นพพันธ์ เจ้าของสวนทุเรียนนวลทองจันท์ กล่าวว่า ทุเรียนสายพันธุ์นวลทองจันทร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดจันทบุรี โดยได้ให้ความสำคัญเรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช (GAP) สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคจนเกิดการสั่งซ้ำและบอกต่อ ทำให้ทุเรียนนวลทองจันท์เป็นที่รู้จักและติดตลาด โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จากตราสินค้าและสัญลักษณ์ GI ที่ติดอยู่ข้างกล่อง นอกจากนี้การบำรุงรักษาต้นทุเรียนให้สมบูรณ์แข็งแรง สามารถต้านทาน แก้ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย นับเป็นส่วนที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลุกทุเรียน รวมไปถึงเตรียมพร้อมเพื่อการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาด้านทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกทุเรียน
ในช่วงเวลาถัดมา นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ เดินทางไปตรวจติดตามการคัดบรรจุทุเรียนคุณภาพและการแปรรูปทุเรียน และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปคุณภาพ ณ บริษัท ดราก้อน เฟรช ฟรุท จำกัด และ บริษัท เกาฟง จำกัด เพื่อชมกระบวนการคัดบรรจุทุเรียนคุณภาพ การแปรรูปทุเรียน และผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปคุณภาพ
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำ ด้านการจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน ด้านของการขนส่งโลจิสติกส์ การบูรณาการทำ One Stop Service ที่ด่านชายแดนเพื่อให้การขนส่งออกเป็นไปได้ด้วยดี การส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างแรงจูงใจให้คนมารับประทานทุเรียนและท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ในด้านปัญหาด้านแรงงานขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหาแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกรและส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการนี้ไปยังพื้นที่ปลูกทุเรียนในเขตภาคใต้ต่อไป
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงและสหกรณ์ในการเป็นประธานการประชุม “ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิตปี 2567 ” ณ ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงคัดบรรจุผลไม้สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด และบริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ ได้ร่วมประชุม“ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิตปี 2567 ” โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้กล่าวต้อนรับ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวรายงาน พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เยี่ยมชมนิทรรศการการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและการตรวจสอบศัตรูพืชเพื่อการส่งออก โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอข้อมูลด้านสถานการณ์ไม้ผลภาคตะวันออก และการดำเนินงานมาตรการตรวจก่อนตัด (ทุเรียน) ในภาพรวมภาคตะวันออก ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะได้เดินทางไปยังโรงคัดบรรจุ สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด เพื่อตรวจติดตามการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอการสาธิตบริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียน ผลการดำเนินงานตรวจก่อนตัด ซึ่งที่ทำการสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ เป็นหนึ่งในจุดตรวจก่อนตัดที่ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเดินทางไปยังโรงคัดบรรจุ บริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อเยี่ยมชมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและมังคุดเพื่อการส่งออก เป็นจุดสุดท้ายของลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงคัดบรรจุผลไม้ พื้นที่จังหวัดจันทบุรีในวันนี้
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขอความร่วมมือเกษตรกร และมือตัดทุเรียน เก็บตัวอย่างทุเรียนที่ไม่มีร่องรอยการเปิดกรีด จำนวน 1 ผล นำมาตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ณ จุดบริการตรวจก่อนตัดที่กำหนดไว้ก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3 วัน และตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์ เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียนตัวอย่างที่ส่งตรวจให้เกษตรกรผู้ส่งตรวจ และหากไม่ผ่านเกณฑ์ให้นำตัวอย่างมาตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง ด้านผู้ประกอบการ/โรงคัดบรรจุ (ล้ง) กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขอความร่วมมือสื่อสารกับเกษตรกรและมือตัดทุเรียน ให้ปฏิบัติตามมาตรการตรวจก่อนตัดอย่างเคร่งครัด และทุกครั้งที่รับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร หรือมือตัด ต้องขอหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนทุกครั้ง ส่วนแผงรับซื้อทุเรียนในตลาดค้าส่ง ต้องขอหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนจากผู้ที่นำทุเรียนมาขาย เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ที่มาตรวจแผงรับซื้อ
Continue reading →วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มฯ/ฝ่าย เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีอันดีงามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในการนี้ได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ร่วมพิธีครั้งนี้ พร้อมกันนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้กล่าวอวยพรให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอ หัวหน้ากลุ่มฯ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์เปิดฤดูกาลผลไม้อัตลักษณ์ต้นแบบ โครงการประชาสัมพันธ์เปิดฤดูกาลและผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงงานส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในการเปิดงาน ร่วมด้วยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ณ สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี