#เกษตรจันท์ จัดประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือนมิถุนายน (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 6/2568
วันจันทร์ที่ 30 มิถุ
วันจันทร์ที่ 30 มิถุ
วันพุธที่ 11 มิถุนาย
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภา
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภา
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤ
วันเสาร์ที่ 17 พฤษภา
วันศุกร์ที่ 16 พฤษภา
วันพฤหัสบดีที่ 24 เม
วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 6/2568 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยการประชุมครั้งนี้มีวาระที่สำคัญ ได้แก่ รายงานความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ประจำเดือนมิถุนายน 2568 การดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 4/2568 จะจัดขึ้นโดยสำนักงานเกษตรอำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งกำหนดขในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2568 ณ เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี การดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่ อุปทานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 การดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของจังหวัดจันทบุรี กิจกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาการผลิตไม้ผล อย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (งบจังหวัด) การประกวดเลิศรัฐ “ตรวจก่อนตัด” คนจันท์ร่วมใจรักษามาตรฐานทุเรียนไทย การติดตามงานด้านระบบทะเบียนเกษตรกร ระบบ geoplot ระบบภัยพิบัติด้านพืช และ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ
วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมิน “จังหวัดสะอาด” ปี 2568 นำโดยนายกริชชัย ศิลปรายะ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประธานคณะอนุกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กลุ่มจังหวัดต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืน) ภายใต้โมเดล “จันท์สะอาด” ที่เน้นสร้างค่านิยม “คนจันท์รักสะอาด” และส่งเสริมแนวทางการจัดการขยะอย่างครบวงจร ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้ ได้แก่ หลัก 4Rs หรือ “4 ช.” ได้แก่ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่และปฏิเสธการใช้ ตลอดจนหลัก “3 หมด” ได้แก่ ทานให้หมด ลดแต่งจาน และแยกน้ำ-เศษอาหารก่อนทิ้ง โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชน เข้าร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมตากสิน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดแสดงนิทรรศการ 4B SMART WASTE SMART FARM นำเสนอเทคโนโลยี จากเกษตรต้นแบบ นายณัฐวุฒิ จันทร์เรือง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง จนประสบความสำเร็จ ด้วยแนวคิด “ใช้ของเหลือให้เกิดค่า พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พึ่งพาตนเอง สร้างสวนที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม” Biochar สารคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ได้จากการเผาชีวมวลในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (Pyrolysis) ไม่สมบูรณ์จนกลายเป็นเถ้า มีลักษณะเป็นถ่านดำ เนื้อเบา มีรูพรุนสูง Biomass ก๊าซที่ได้จากการย่อยสลายของเสียอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) โดยมี มีเทน (CH₄) เป็นองค์ประกอบหลัก Biogas ก๊าซที่ได้จากการย่อยสลายของเสียอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) โดยมี มีเทน (CH₄) เป็นองค์ประกอบหลัก และ Biodiesel เชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันใช้แล้ว โดยกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) นอกจากนี้ยังได้มีนิทรรศการและงานวิจัยจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่นำเปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด ซึ่งเป็นขยะเหลือทิ้งในสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพจากเปลือกทุเรียน ของสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี การทำผลิตภัณฑ์ของใช้ เครื่องเรือน ของที่ระลึก และวัสดุทดแทนไม้ จากผลและเปลือกมังคุด ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และการทำเม็ดดินเผามวลเบาจากเปลือกทุเรียนและมังคุดสำหรับการปลูกพืช ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ณ บริเวณโถงแสงจันทร์ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการประชุม เกษตรอำเภอประจำเดือน (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 5/2568 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยการเริ่มการประชุม เกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้มอบเกียรติบัตรให้ผู้เข้าร่วมการคัดเลือกบุคคลดีเด่น สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ประเภทเกษตรตำบลดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาววราภรณ์ ชะนะภัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวกชมน วงศ์ใหญ่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจ ให้แก่บุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนกระตุ้น ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน การประชุมครั้งนี้มีวาระที่สำคัญ ได้แก่ รายงานความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ประจำเดือน พฤษภาคม 2568 การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช การเตรียมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 4/2568 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน) ในฤดูกาลผลิต ปี 2568 โครงการทะเบียนเกษตรกรและบริหารจัดการสารสนเทศการเกษตรด้านพืช การวาดผังแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมัครสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการเกษตร
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นายพุฒพงษ์ โพธิ์พานิช หัวหน้ากลุ่มส่วเสริมและพัฒนาการผลิต นายสิทธิศักดิ์ สุขประเสริฐ เกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm ด้านการบริหารจัดการน้ำในแปลงไม้ผล ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน พร้อมกิจกรรม “ยกระดับเกษตรกรกลุ่มไม้ผลด้วยเทคโนโลยีการใช้น้ำและการจัดการพืชอย่างแม่นยำ” โดยมีนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการอบรม โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าหน่วยงานท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านพังงอน ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2568 ของจังหวัดจันทบุรี ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะ “โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งกร่าง พร้อมระบบส่งน้ำ ตำบลทับไทร” โดยมีนายเฉลิมชัย เอี่ยมสะอาด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบน้ำและระบบสมาร์ทฟาร์ม เป็นผู้บรรยายถ่ายทอดความรู้ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ รองรับการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง พัฒนาคุณภาพผลผลิต และยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ วัดสระบาป หมู่ 6 ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยมีนายมนต์สิทธิ๊ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการเปิดงานฯ ร่วมด้วยนายกิตติพงษ์ กิติคุณ นายอำเภอเมืองจันทบุรี หัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะครูและบุคลากรจาก โรงเรียนวัดทองทั่ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่
คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เป็นการบริการทางวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเชิงรุก ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับบริการทางการเกษตรอย่างรวดเร็วทั่วถึง และครบวงจร โดยเป็นการดำเนินการในลักษณะบูรณาการการทำงาน ระหว่างนักวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมทั้งนำอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่าง ๆ มาให้บริการในคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ ถึงในระดับตำบล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการทางการเกษตรได้อย่างทั่วถึงครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน
ภายในงานจัดให้มีบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง รับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรีที่มารับบริการมากกว่า 200 ราย โดยการบูรณาการความรู้เทคโนโลยีการเกษตรด้านต่างๆ จากหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้บริการแก่เกษตรกรไว้ ณ จุดเดียว
วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) นายอิทธิ ศิริลัทธยากร นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะฯ ในการเดินทางมาตรวจราชการ พื้นที่จังหวัดจันทบุรี นำโดยนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรนางอุบล กรมส่งเสริมการเกษตร มากอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้แทนในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สวนรักตะวัน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้สรุปข้อมูลการกระจายตัวของผลผลิตและราคาเฉลี่ยรับซื้อของไม้ผลเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรี (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย) ในช่วงปี 2566-2568 นำเสนอในรูปแบบกราฟ โดยอธิบดีกรมส่งเสริมดการเกษตรเป็นผู้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้จัดนิทรรศแสดงขั้นตอนการตรวจก่อนตัดเพื่อวิเคราะห์และรับรองผลระดับความแก่ของทุเรียนด้วยการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้ง และการนิทรรศการด้านการอารักขาพืช อีกทั้งนิทรรศการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาคมทุเรียนไทย (TDA) นำโดยนายภานุศักดิ์ สายพานิช ประธานที่ปรึกษาสมาคมทุเรียนไทย เจ้าของสวนรักตะวัน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
นายกรัฐมนตรี และคณะฯ ได้รับฟังปัญหาจากผู้แทนเกษตรกร และสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี ในเรื่องต้นทุนการผลิต มาตรฐานการผลิต ด้านการตลาดและส่งออกของไม้ผลเศรศฐกิจที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ทุเรียนและมังคุด และปัญหาเรื่องช้างป่าทำลายพืชผลและชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยได้นำรายละเอียดต่างๆ ไปหารือแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ไขภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีโดยเร็ว โดยที่ประธานที่ปรึกษาสมาคมทุเรียนไทย ได้ขอให้รัฐบาลเน้นย้ำการรักษาฐานธุรกิจส่งออกในไทยไม่ให้ย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมเสนอให้มีการ จัดตั้งห้องแล็บตรวจมาตรฐานที่จีนรับรอง ในแหล่งผลิตหลัก และ เพิ่มแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ให้ผู้ส่งออกทั้งไทยและต่างชาติ เพื่อเสริมสภาพคล่อง นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้ ขยายช่องทางส่งออก ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ควบคู่ไปกับการเดินหน้า ส่งเสริมภาพลักษณ์ทุเรียนไทยในตลาดจีน ด้วยการใช้อินฟลูเอนเซอร์ระดับโลกที่ชาวจีนชื่นชอบ เช่น “ลิซ่า” ผ่านช่องทางสื่อที่หลากหลาย เพื่อรักษาฐานผู้บริโภคเดิมและขยายตลาดใหม่
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะฯ ได้รับชมการ ถ่ายทอดสด (Live) การขายทุเรียนโดยนางสาวรินทร์ลิตา ฐิติบันลือชัย Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี เจ้าของเพจ สวนจันทร์ฉาย ถือเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถโดดเด่นในการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างชื่อเสียงให้กับทุเรียนจังหวัดจันทบุรี และในลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะฯ ได้เข้าชมสวนทุเรียนและการสาธิตการตัดทุเรียน และตัดทุเรียนด้วยตนเอง โดยสวนรักตะวันแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เอกอัครราชทูตจีน นายหาน จื้อเฉียง (Mr. Han Zhiqiang) เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย ได้มาปลูกไว้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2568 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-จีน ในด้านการค้าผลไม้ ในช่วงท้ายของกิจกรรมที่สวนรักตะวันนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงการสนับสนุนเกษตรกรไทยให้เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนานโยบายที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง ทั้งในด้านตลาด เทคโนโลยี และความยั่งยืนของผลผลิต
นอกจากภารกิจ ณ สวนรักตะวัน นายกรัฐมนตรีและคณฯ และเดินทางไปยังโรงแรมมณีจันท์ รีสอร์ท ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจันทบุรี เพื่อเยี่ยมชมบูธผลไม้ตามฤดูกาล ชมร้านอาหารที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ของจังหวัดจันทบุรี และภารกิจสุดท้าย ณ บริษัท ดรากอน เฟรช ฟรุท จำกัด อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อเยี่ยมชมขั้นตอนการส่งออกทุเรียนไปยังตลาดต่างประเทศ เยี่ยมชมบูธกิจกรรมแปรรูปผลไม้ (เต่าบิน) และโมเดลความร่วมมือการนำเมนูผลไม้ขึ้นเครื่องบิน ของสายการบินแอร์เอเชีย โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นผู้นำเสนอการดำเนินงานดังกล่าว ร่วมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวต่อไป ซึ่งทุกภารกิจของนายกรัฐมนตรีในวันนี้ สามารถรับชมการถ่ายสด (Live) หรือรับชมย้อนหลังได้ที่เพจกรมประชาสัมพันธ์
วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาววิชชุดา ตองอ่อน หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางเพ็ญทิวา คุณวัฒน์ เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ในการติดตามการใช้งบประมาณเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทำหมันแมลงวันผลไม้ (แมลงวันทอง) ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดยนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผุ้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง นายเฉลย สัมเภาพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง นายศุภโชค ศาลากิจ รองประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา และนายทศพล แทนรินทร์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ ผู้แทนจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง และเยี่ยมชมแปลงเกษตรกร (นายปรีชา คณาญาติ) เป็นจุดสาธิตปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นเขตพื้นที่นำร่องในการใช้ประโยชน์แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมัน ต้นแบบการควบคุมแมลงวันผลไม้ ระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดประชากรแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ให้อยู่ในระดับต่ำ (FTD ≤ มุ่งสู่การขอรับรองเป็นเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงวันผลไม้ระดับต่ำ (Area of Low Pest Prevalence for Fruit Flies) แห่งแรกของประเทศไทย และจะเป็นแห่งแรกในอาเซียน สร้างต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ (Area-wide Integrated Pest Management : AW-IPM) อีกทั้งได้ขยายพื้นที่ควบคุมเพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของแมลงวันผลไม้ไปในอีก 2 พื้นที่ คือ บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี และตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งมีเป้าหมายในการควบคุม ปริมาณแมลงที่ 5 ตัว/กับดัก/วัน (FTD ≤ 5)
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานในพื้นที่ ปฏิบัติการภาคสนามร่วมกับเกษตรกรและชุมชน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เก็บข้อมูล ทดสอบ ทดลองเทคนิคต่างๆ ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น ลดความเสียหายให้กับประเทศไทย คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปีจากผลผลิตที่เน่าเสียและปัญหาการส่งออก อันจะนำไปสู่ประเด็นสารเคมีตกค้างในผลผลิตกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและกระทบการส่งออกของประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี แถลงข่าวเตรียมงาน “จันทบุรี สรวงสวรรค์แห่งผลไม้เมืองร้อน” (Chanthaburi Paradise of Tropical Fruit 2025) ภายใต้โครงการขยายช่องทางการตลาดและการส่งออกสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นำโดยนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ร่วมด้วยนายอุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี นายภูมิพัฒน์ ตั้งเจริญสิริ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และตัวแทนชมรมสมาคมต่างๆ ณ บริเวณสวนเพลิน ศูนย์การค้าเซ็นทรัล จันทบุรี
งาน “จันทบุรี สรวงสวรรค์แห่งผลไม้เมืองร้อน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน สินค้า OTOP สินค้า GI ตลอดถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีชื่อเสียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งเป็นเวทีเผยแพร่องค์ความรู้เทคโนโลยีการเกษตร การแปรรูป และนวัตกรรมเกษตรสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร สมุนไพร และสินค้าเกษตรแปรรูป นวัตกรรมของจังหวัดจันทบุรี รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
เตรียมพบกับ กิจกรรมความสนุกและบันเทิง ที่สอดแทรกความรู้ด้านการเกษตรอีกมากมาย เช่น การประกวดผลไม้เมืองร้อน จำนวน 6 ชนิด (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง กล้วยไข่ สละ) การประกวดการจัดนิทรรศการผลไม้เมืองร้อนจาก 10 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ภายใต้แนวคิดที่แตกต่างตามลักษณะพื้นที่ของแต่ละอำเภอ การแข่งขันส้มตำผลไม้ลีลา การประกวดประเภทอาหารคาวและหวานจากผลไม้ การแข่งขันช่างซ่อม Smart Farm การแข่งขันจัดกระเช้าผลไม้ การแข่งขันกินผลไม้ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และต่อยอดศักยภาพการส่งออกภายใต้แนวทาง “จากท้องถิ่น สู่สากล” อย่างเป็นรูปธรรม ช่วยยกระดับศักยภาพการผลิต การแปรรูป เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานปลอดภัยอย่างยั่งยืน ที่สามารถต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปด้านการเกษตรทั้งระบบ ให้เป็นผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมของพื้นที่
วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568 เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ชี้แจงและฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ในหัวข้อ “การควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุรภาพ(ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดตามมาตรการตรวจก่อนตัด และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน” ให้กับผู้แทนสหกรณ์ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 5 แห่ง สหกรณ์การเกษตรโป่งน้ำร้อน จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอำเภอมะขาม จำกัด , สหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด , สหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ จำกัด และสหกรณ์การเกษตรอำเภอเมืองจันทุบรี จำกัด ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี จำกัด ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยในปี 2568 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ในการจัดตั้งจุดบริการตรวจก่อนตัดในสหกรณ์ เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ(ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ตามแนวทางของจังหวัดจันทบุรี ที่ได้กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2568 ด้วยการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนก่อนตัดทุเรียน และอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่
จันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือนมีนาคม (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 3/2568 โดยมีหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย พร้อมด้วยเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เข้าร่วมการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงาน-แผนเงินโครงการกรมส่งเสริมการเกษตร งบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
โดยก่อนการประชุมเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ประจำปี 2568 โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้แทนรับเกียรติบัตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองตาหงุ่น อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาทรัพยากรชีวภาพตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี และการแนะนำการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อราทดแทนสารเคมีที่อาจจะตกค้างในผลไม้จนเป็นอุปสรรคการส่งออก โดย มูลนิธิเก้าเกษตร (อ.สุเมธ จรัสเพชรานันท์ ประธานมูลนิธิเก้าเกษตร) นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีวาระอื่นๆ ได้แก่ สรุปกิจกรรมการประกวด/คัดเลือก ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอให้การสนับสนุน การคัดเลือกสตรีดีเด่น ด้านการส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2568 (นางสาวบุษบา นาคพิพัฒน์) การจัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดทำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเกษตรกรด้านการสื่อสารภาษาจีน และยกระดับสู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 3/2568 การเตรียมความพร้อมรับเสด็จฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สรุปรายละเอียดการจัดงาน “จันทบุรี สรวงสวรรค์แห่งผลไม้เมืองร้อน” (Chanthaburi Paradise of Tropical Fruit 2025) ระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์การค้า Central Chanthaburi
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมจัดบริการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการเปิดงาน ร่วมด้วยนายจักรพันธ์ โชติพันธุ์ นายอำเภอขลุง หัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ณ สหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ จัดขึ้นเพื่อให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างรวดเร็วและทั่วถึง โดยเป็นความร่วมมือของนักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐในหลายสาขา ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ พร้อมนำอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการมาบริการถึงระดับตำบล ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงบริการที่ครบวงจรได้ในคราวเดียว โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมรับบริการมากกว่า 400 ราย ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การจัดทรรศการแสดงทุเรียนพันธุ์กระดุม ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอขลุง การสาธิตเทคโนโลยีการเกษตร การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ การให้บริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่สะท้อนปัญหาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที
วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09.00 น. นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำทีมหัวหน้ากลุ่ม และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับนางเพ็ญทิวา คุณวัฒน์ เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง และ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน ในการคัดเลือกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2568 โดยมีนางสาวนันท์ปพร โกซิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง เป็นประธานคณะกรรมการฯ โดยมีการนำเสนอผลงานการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน และได้เยี่ยมชมการจัดทำบ้านเกษตรสมบูรณ์ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 3 ครัวเรือน ในการนี้มีผู้สนับสนุน และให้กำลังใจ ได้แก่ นายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง นางสาวพัชรินทร์ ทศานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน นายเอกนรินทร์ ดำเนินงาม พัฒนาการอำเภอขลุง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ ประธานกลุ่มสตรี ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สกร. ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเกษตรกรเครือข่าย
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน จัดอบรมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตiในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมยกระดับเกษตรกรกลุ่มไม้ผลด้วยเทคโนโลยีการใช้น้ำและการจัดการพืชอย่างแม่นยำ โดยได้รับเกียรติจาก นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดโครงการฯ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอโป่งน้ำร้อน ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2568 ของจังหวัดจันทบุรี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร รองรับการขยายตัวของพื้นที่การเกษตร และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและฝนทิ้งช่วง ซึ่งหนึ่งในโครงการสำคัญคือ “สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งกร่าง พร้อมระบบส่งน้ำตำบลทับไทร” ที่จะช่วยบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง
ในส่วนของการยกระดับเกษตรกร โครงการได้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาต้นแบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ 3 แปลง ที่ใช้ระบบน้ำอัจฉริยะและสมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรรายอื่นต่อไป
วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (District Workshop : DW) ครั้งที่ 1/2568 โดยมีบุคคลาเป้าหมายประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
สัมมนาครั้งนี้ได้มีหัวข้อการบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง และปัญหาความเสื่อมของน้ำและดินเพื่อการเกษตร โดย อาจารย์สรรเสริญ สุนทรทยาภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย การจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการสวนไม้ผลภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการจัดการระบบน้ำในสวนไม้ผล โดย เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การบริหารจัดการข้อมูลการตรวจน้ำหนักแห้งของทุเรียนฤดูกาลผลิต ปี 2568 โดย เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และบริษัท วีเดฟซอฟท์ จำกัด (VDEV SOFT) และการระเบียบการจัดซื้อ/จัดจ้าง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไป
ในช่วงท้ายของการสัมมนา เจ้าหน้าที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นท้าทายงานส่งเสริมการเกษตรสู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ เกิดประสิทธิผลของการทำงานในบทบาทนักส่งเสริมการเกษตรต่อไป
วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอสัญจร (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยวาระก่อนการประชุมเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบัน เกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2568 โดยมีเกษตรอำเภอในพื้นที่เป็นผู้แทนรับมอบ ฯ ดังนี้
เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ได้แก่
อันดับที่ 1 นายธนิสร กำธรกิจตระกูล อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
อันดับที่ 2 นายสงกรานต์ ถนอมวัฒน์ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
สถาบันเกษตรกรดีเด่น ประเภทกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
อันดับที่ 1 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
3. สถาบันเกษตรกรดีเด่น ประเภทกลุ่มยุวเกษตรกร
อันดับที่ 1 กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองมะลิประเวศน์วิทยา ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
อันดับที่ 2 กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
อันดับที่ 3 กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
รายงานความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลงานการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด ปี 2568
รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองตาหงุ่น ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 วิสาหกิจชุมชนพัฒนาทรัพยากรชีวภาพตำบลวันยาว ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 วิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
วาระอื่นๆ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์การรับสมัครบุคคลเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรไทยกับต่างประเทศ ประจำปี 2568 การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื ่อการเกษตรในพื้นที่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมยกระดับเกษตรกรกลุ่มไม้ผลด้วยเทคโนโลยีการใช้น้ำและการจัดการพืชอย่างแม่นยำ การดำเนินมาตรการตรวจก่อนตัด ปี 2568 (การวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของ ทุเรียน) และเทศกาลผลไม้เขตร้อนจันทบุรี “จันทบุรี สรวงสวรรค์แห่งผลไม้เมืองร้อน”
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมมหกรรม Big Cleaning Day ทุเรียนภาคตะวันออก ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของทุเรียนไทย พร้อมมอบใบประกาศแก่ผู้ผ่านมาตรการป้องกันสารปนเปื้อน Basic Yellow 2 และส่งเสริมสุขอนามัยในอุตสาหกรรมทุเรียน โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ฯ ณ พื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ในช่วงเช้า รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยว่าที่พันตรี ชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอท่าใหม่ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เกษตรอำเภอท่าใหม่ ได้ร่วมกิจกรรม big cleaning day in the garden “ตรวจพร้อมตัด จัดระเบียบสวน กระบวนการผลิตปลอดภัย มั่นใจคุณภาพทุเรียนจันท์” ณ สวนของนายกฤศณัฏฐ์ พืชผล เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ร่วมกิจกรรมการเตรียมตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุโลหะหนัก เพื่อการันตีคุณภาพผลผลิตทุเรียนจันท์ โดยเน้นย้ำเกษตรกรต้อง 1. ตรวจพร้อมตัด ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ ใบ และผล เข้าตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารแคดเมียม และ Basic Yellow 2 (BY2) 2. จัดระเบียบสวน ตามมาตรฐาน GAP 8 ข้อกำหนด และ 3. กระบวนการผลิตปลอดภัย งดการใช้สารต้องห้ามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด งดพ่นสารที่มีสีผสมมา หรือเนื้อสารที่มีสีเหลืองจัด เพื่อลดปัญหาการเกิดคราบบนผลผลิต และ Cleaning Day ของโรงคัดบรรจุ ทุกโรงคัดบรรจุทุเรียนต้องปฏิบัติการ Big Cleaning ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนสารตกค้าง Basic Yellow2 ก่อนเปิดดำเนินการ โดยไม่ใช้สีทุกชนิด ในกระบวนการผลิตทุเรียนสด ห้ามใช้สารห้ามใช้ทุกชนิด
ในช่วงบ่าย ณ ห้องเย็นเกาฟง ตลาดทุเรียนจันท์ ตำบลเขาวัว ได้มีกิจกรรม Big Cleaning Form farm , กิจกรรม Big Cleaning Form Packing House , พิธีมอบใบประกาศ Big Cleaning Form Packing House , กิจกรรมปล่อยขบวนรถ Big Cleaning และร่วมกัน Big Cleaning ตามมาตรการป้องกันสารปนเปื้อน Basic Yellow 2 หรือ BY2 เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุทุเรียนส่งออกและเกษตรกร ในการป้องกันการปนเปื้อนสาร BY2 ในทุเรียนผลสดก่อนเปิดฤดูกาลทุเรียนตะวันออก ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมใจ ร่วมมือ Set Zero ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทย ตามมาตรการ 4 ไม่ 1. ไม่อ่อน ไม่ตัด ไม่ซื้อ ไม่ขาย ทุเรียนอ่อน 2. ไม่หนอน ปราศจากการทำลายของศัตรูพืช (เพลี้ย หนอน เชื้อรา ฯลฯ) 3. ไม่สวมสิทธิ์ ไม่อ้างใช้ใบรับรอง GAP GMP DOA ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 4. ไม่มีสี ไม่มีสาร ไม่ใช้สีทุกชนิด ห้ามใช้สารห้ามใช้ในกระบวนการผลิตทุเรียนสด เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยทุเรียนไทย และสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้า
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม เกษตรอำเภอทุกอำเภอ ร่วมต้อนรับ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า นายอรรถกร ศิริลัทธยากร และคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจติดตามการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออก ณ จังหวัดจันทบุรี ร่วมด้วยนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และหัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การลงพื้นที่ในครั้งนี้นี้เพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกผลไม้ ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมมอบนโยบายในการดำเนินงานควบคุมการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออกไปต่างประเทศตามที่ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเร่งด่วนให้ขับเคลื่อน“นโยบายผลไม้ปลอดภัย มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคในประเทศและส่งออก” และรับฟังปัญหาจากเกษตรกร
พร้อมกันนี้ ได้ขอความร่วมมือเกษตรกรให้นำทุเรียนก่อนตัดไปตรวจหาสารแคดเมี่ยม และเปอร์เซ็นต์ น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนก่อนการเก็บเกี่ยวตามที่จังหวัดจันทบุรีกำหนด เพื่อการันตีถึงคุณภาพผลผลิตและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของ ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุให้นำทุเรียนที่จะ ส่งออกไปตรวจหา BY2 ณ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตรและ GACC จำนวน 6 แห่ง ที่ได้อนุญาตให้ใช้ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในการทดสอบสาร Basic yellow 2 และตรวจสอบ ศัตรูพืชและข้อกำหนดต่างๆ ตามข้อตกลงพิธีสารไทย-จีน ก่อนปิดตู้และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชส่งออก
นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีและทุกภาคส่วนในจังหวัดจันทบุรี ได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการผลไม้ให้มีคุณภาพ รักษาและยกระดับผลไม้ให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งผลิต รวบรวม และกระจายผลไม้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด เงาะ ลองกอง และสละ ซึ่งในแต่ละปีจะมีปริมาณ ผลผลิตไม่น้อยกว่า 900,000 ตัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท จนเกิดเป็น “จันทบุรีโมเดล” ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานสร้างมาตรการในพื้นที่เพื่อควบคุม รักษาคุณภาพของผลไม้ในจังหวัดจันทบุรีและขยายผลไปทั่วประเทศ
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day) โดยมีนายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ไบโอชาร์ บ้านสะพานเลือก หมู่ 11 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ภายในงานมีกิจกรรมเด่น ได้แก่ การบรรยายพิเศษ เรื่อง BY2 -แคดเมียม สำคัญอย่างไร การปรับตัวของเกษตรกรในสภาวะโลกร้อน การต่ออายุใบรับรอง GAP พืช กิจกรรมฐานเรียนรู้การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนิทรรศการเกษตรรักษ์โลก การจัดงานในครั้งนี้เน้นการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบฐานการเรียนรู้ นำเสนอความรู้ผ่านกิจกรรมแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ และการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเกษตรกร ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลด PM2.5 จากการทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเกษตรกรยังได้เรียนรู้ และปรับตัวเพื่อให้การทำการเกษตรในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนางสาวจารุววรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ดำเนินการจัดการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมกิจการวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดเป็นไปอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ และเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดต่อไป
วาระการประชุมมที่สำคัญ ได้แก่ การรายงานความก้าวหน้าการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน /เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2568 การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2568 ผลการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด และระดับเขต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผน/ผล ความก้าวหน้าการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการจัดเวที Focus Group เพื่อสรุปข้อมูลการประเมินสถานการณ์ผลผลิตในแปลงพยากรณ์ ระดับจังหวัด ร่วมด้วยนายพุฒิพงษ์ โพธิพานิช หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผล งานด้านข้อมูลสารสนเทศ และเกษตรกรเจ้าของแปลงพยากรณ์ประเมินสถานการณ์การผลิตไม้ผล รวมจำนวน 30 ราย วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันสรุปสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2568 (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) และสรุปผลการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2568 (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) จากเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีนายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการเปิดงานฯ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตร เทศบาลตำบลจันทเขลม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ส่วนราชการอื่นๆ รวมถึงภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดจันทบุรี พร้อมกับเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี ได้มีการมอบถุงยังชีพจำนวน 50 ชุด แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ และจักรยาน จำนวน 10 คัน แก่นักเรียนในพื้นที่ ณ สำนักสงฆ์ประชาธรรม หมู่ที่ 7 ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ภายในงานจัดให้มีบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขเบื้องต้นแก่พี่น้องประชาชนจากพื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏที่มารับบริการมากกว่า 300 ราย ถือเป็นบูรณาการการทำงานระหว่างนักวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมทั้งนำอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่าง ๆ มาให้บริการในคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ถึงในระดับตำบล ทำให้เกษตรกรและประชาชนได้ท้องที่สามารถเข้ารับบริการทางการเกษตรและการสนับสนุนจากหน่วยงานได้อย่างทั่วถึงครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมพลอยจันท์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี การประชุมในวันนี้นำโดยนายพิรเพลิน ทับที่สุด ประธานคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ จังหวัดจันทบุรี และนายณรงค์สิชณ์ สุทธาทิพย์ ประธานคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. จังหวัดจันทบุรี ประธานเครือข่ายแปลงใหญ่ และ ศพก. ระดับอำเภอ YSF จังหวัดจันทบุรี ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานแปลงใหญ่ และ ศพก. ระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกัน รับทราบข้อมูลสถานการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ของแต่ละอำเภอรวมถึงการบริหารจัดการสวนทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม kasettrack ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลตรวจเปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเนื้อแห้งทุเรียนแบบออนไลน์ ฤดูเก็บเกี่ยว 2568 จังหวัดจันทบุรี โดย Kasettrack และการประชาสัมพันธ์และรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) โดย สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa)
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายสิทธิ์ศักดิ์ สุขประเสริฐ เกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีและสำนักงานเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ในการเดินทางศึกษาดูงานและติดตามการพัฒนาและส่งเสริมลำไย นำโดยนายวิรัตน์ ธรรมบำรุง รองประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา โดยมีนายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายอำเภอโป่งน้ำร้อน หัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ได้ร่วมพูดคุยถึงสถานการณ์การผลิตลำไยกับนายจรินทร์ เหล็กเพชร ประธานแปลงใหญ่ลำไย หมู่ที่ 5 ตำบลคลองใหญ่ สมาชิกกลุ่มฯ และนายสุพล ลิมป์รัชดาวงศ์ อุปนายกสมาคมชาวสวนลำไย จังหวัดจันทบุรี ณ ที่ทำการกลุ่มแปลงใหญ่ลำไย หมู่ที่ 5 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
เวลา 13.00 น. คณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ไปยังบริษัท โซ่ว์ซินหยวน อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต (ไทยแลนด์) จำกัด ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรลำไย รวมทั้งกระบวนการส่งออกลำไยร่วมกับผู้ส่งออกลำไย โดยมี Mr.Huang Geliu ตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป และคุณเฉิน ติ้งซู ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท กล่าวต้อนรับและนำคณะกรรมาธิการฯ เข้าเยี่ยมชมสินค้าของบริษัท พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการส่งออกลำไย การคัดเกรดลำไย การรักษาคุณภาพสินค้า รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆปัญหาที่ ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการมีความกังวลในการรับซื้อลำไยจากเกษตรกร อย่างไรก็ตาม การดำเนินการส่งออกผลิตภัณฑ์ลำไยและการรับซื้อลำไยจากต่างประเทศ อาทิ ประเทศจีน มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านการกักโรคและตรวจสอบสำหรับสินค้าผลไม้เมืองร้อนที่ส่งออกจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงควรดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ โดยการสร้างการรับรู้และความตระหนักรู้ให้แก่ทั้งเกษตรและผู้ประกอบการล้งรอบด้าน ทั้งในประเด็นการตรวจสอบรับรองลำไย การตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเพื่อรับรองสินค้าลำไยเพื่อการส่งออก เป็นต้น ในการลงพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบข้อมูลอย่างครอบคลุมและครบถ้วนตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะนำข้อเสนอต่างๆไปประกอบการจัดทำรายงานผลการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ลำไย พ.ศ. …. ต่อไป
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด ครั้งที่ 11 โดยมีนายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมฯ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องประชุมจันทบูร ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลทางการเกษตร สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับประเทศ รวมทั้งการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี ดังนี้
วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี ประธานคณะทำงานติดตามนิเทศงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V System) ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เติมเต็มองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมกันสรุปผลการนิเทศงาน
ขับเคลื่อนผ่าน 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอสัญจร (Monthly Meeting : MM) ครั้งที่ 11/2567 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ที่ประชุมได้ร่วมหารือในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 การกำกับ ดูแล ป้องปรามการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมอบรมพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer ระยะที่ 1 การคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2568 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัดปี 2568 การรับสมัครเกษตรกร เพื่อร่วมจำหน่ายสินค้าใน “ตลาดเกษตรกรจันท์” การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ร่วมจัดเตรียมสถานที่โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาสที่ 1 ในวันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2567 และร่วมงานในวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ สำนักสงฆ์ประชาธรรม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี (Provincial Meeting : PM) ครั้งที่ 1 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เพื่อหารือแนวทางการจัดทำรายละเอียดโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมถึงชี้แจงภารกิจต่างๆ ภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และวางแนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน เกิดความรวดเร็ว และถูกต้อง บรรลุตามวัตถุประสงค์งานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ต่อไป
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมเวทีประชุมคณะทำงานผู้ประสานงานเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับ ครั้งที่ 1/2568 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอและเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ของจังหวัดจันทบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 35 ราย ประกอบด้วยประธานคณะทำงานฯ ระดับอำเภอ ผู้แทนคณะทำงานฯ ระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
เกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมพุดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นการดำเนินงานต่างๆ ในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งมอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนให้กับผู้เข้าร่วมประชุม
โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีมติให้นางสาวรัชณีวรรณ ธนเจริญชินภักดี Young Smart Farmer อำเภอมะขาม ดำรงตำแหน่งประธาน YSF จันทบุรี และแต่งตั้งคณะทำงานผู้ประสานงานเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด ของจังหวัดจันทบุรี ชุดใหม่ หารือทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่าย แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านการตลาด โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ หารือการปรับปรุงข้อมูลศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ของจังหวัดจันทบุรี โดยมีมติ เพิ่มจาก 13 ศูนย์ บ่มเพาะฯ เป็น 18 ศูนย์บ่มเพาะฯ และแนวทางการยกระดับศูนย์บ่มเพาะฯ ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ Learning Space ของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่
จันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลและงานด้านข้อมูลสารสนเทศ ระดับอำเภอ เข้าร่วมประชุมหารือข้อมูลเพื่อสรุปข้อมูลการประเมินสถานการณ์ผลผลิตระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี การประชุมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เตรียมข้อมูลพื้นที่ปลูกใหม่/โค่นทิ้ง พื้นที่ให้ผลปีแรกในระดับอำเภอ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง และสถานการณ์การติดดอกออกผลไม้ผลระดับอำเภอ หารือร่วมกับเกษตรจังหวัดจันทบุรีและหัวหน้ากลุ่มฯ เพื่อสรุปข้อมูลการประเมินสถานการณ์ผลผลิตภาพรวมในระดับจังหวัดต่อไป
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอ (Monthly Meeting : MM) ประจำเดือน ตุลาคม 2567 ประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย เกษตรอำเภอ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2568 ตามนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร โดยยึดถือระเบียบปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินงานโครงการต่างๆ โดยเน้นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมเกษตรอำเภอ (Monthly Meeting : MM) และประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี (Provincial Meeting : PM) ประจำเดือนกันยายน ครั้งที่ 9/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยมีบุคคลเป้าหมายประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มฯ/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ รายงานความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน กันยายน 2567 การสนับสนุนพันธุ์พืชสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ ผลการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2567 รางวัลชมเชย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี การแต่งตั้งคณะทำงานผู้ประสานเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช ขอความร่วมมือให้อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว รายงาน สถานการณ์/ราคารับซื้อผลผลิตลำไยในพื้นที่ประจำสัปดาห์ โครงการปรับเพิ่มผลิตภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนนจังหวัดจันทบุรี
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ และสำนักงานเกษตรอำเภอขลุง เข้าร่วมพิธีรับมอบรางวัลการประกวด ศจช. และ ศดปช. ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ปี 2567 โดยมีนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลฯ ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประกวดศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567
โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบเกียรติบัตรให้กับผู้แทนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ศจช. และ ศดปช. พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ขับเคลื่อนงานจนได้รับรางวัลระดับประเทศได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ เพื่อให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะชน และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ในการพัฒนางานต่อไป
วันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ/ฝ่าย เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปผลการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร จังหวัดจันทบุรี ปี 2567 และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (District Workshop : DW) ครั้งที่ 2/2567 โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดสัมมนาฯ ณ โรงแรมเจ้าหลาวทอแสงบีช อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีบุคคลเป้าหมาย จำนวน 82 คน
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรในยุคดิจิทัลจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง” ถ่ายทอดหลักการทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้าน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งในการทางตรงและทางอ้อม และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้ให้หลักคิดกับนักส่งเสริมการเกษตรที่จะต้องมีปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในพื้นที่ ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ ให้มีความน่าสนใจและมีความแตกต่าง โดยจะเป็นโอกาสที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งได้ให้แนวคิดการทำงานกับนักส่งเสริมการเกษตรควรมีการเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาพื้นที่ และพัฒนาสินค้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีได้ส่งเสริมการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ก้าวทันสถานการณ์ ปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิ
เจ้าหน้าที่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่ส่งผลต่องานส่งเสริมการเกษตร โดยนายสมพล คุ้มพ่วงดี อดีตผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจันทบุรี และแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดย นางสาวบังเอิญ แก้วพระโต นักวิชาการตรวจสอบภายในชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่ นำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 โดยมีนายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอขลุง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และพี่น้องเกษตรกรชาวตำบลตรอกนอง ณ ที่ทำการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องดินและปุ๋ยให้เกษตรกรในพื้นที่ โดยเป็นแหล่งบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ดินพร้อมให้คำแนะนำการใส่ปุ๋ยพืช จำหน่ายปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี และราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สามารถใช้บำรุงดูแลรักษาต้นพืช ได้แก่ แคลเซียมโบรอน น้ำหนักคุณภาพสูง ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตลงได้
จากการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ ว่าศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตำบลตรอกนอง มีความเข้มแข็งด้านการบริหารงานของสมาชิก เป็นศูนย์กลางในการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านดินและปุ๋ยให้กับชุมชนแบบครบวงจรอย่างแท้จริง อีกทั้งสามารถเป็นต้นแบบด้านดินและปุ๋ยให้กับเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและต่อจังหวัดจันทบุรีได้อย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด เกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน เกษตรอำเภอสอยดาว พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว ร่วมกับนายกสมาคมชาวสวนลำไยจังหวัดจันทบุรี สมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้ประกอบการรับซื้อลำไยในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิต 2567/2568 ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด ตลอดจนศึกษาหาแนวทางการควบคุมคุณภาพผลผลิตฯ (การผลิตลำไยให้ปลอดศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผลผลิตลำไย) ตลอดจนการบริหารจัการแรงงาน และผู้รับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยที่เข้ามาในช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ฯลฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
โดยที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้
1.มอบหมายให้หน่วยงานทึ่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางการใข้สารเคมีที่ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดสารพิษตกค้างในผล สมุดบันทึกการใช้สารเคมีของเกษตรกร การขึ้นทะเบียนสายเก็บลำไย ฯลฯ
2.ทั้งนี้ คณะทำงานจะมีการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ สหกรณ์การเกษตรโป่งน้ำร้อนจำกัด ต่อไป
Continue reading →วันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2567 นายพุฒิพงษ์ โพธิ์พานิช หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม เข้าร่วมการอบรมการใช้เอกสารและการจัดการระบบควบคุมภายในกลุ่ม ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP กิจกรรมขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP’s ICS จัดโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มีความเข้าใจในเรื่องการผลิตมังคุดตามมาตรฐาน GAP และการใช้เอกสารระบบควบคุมภายใน GAP’s ICS โดยมีเป้าหมาย คือ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รวม 25 ราย
ในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 เป็นกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เกี่ยวกับการจัดการระบบควบคุมภายในของกลุ่ม และการใช้แบบฟอร์มต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบฟอร์มการตรวจประเมินแปลงภายใน พร้อมทั้งให้กลุ่มเป้าหมายฝึกปฏิบัติการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ณ ที่ทำการกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และวันที่ 20 สิงหาคม 2567 เป็นการศึกษาดูงาน ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่หนองบอน ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยมีประธานวิสาหกิจชุมชนฯ และคณะ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดและสำนักงานเกษตรอำเภอบ่อไร่ บรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่หนองบอนทั้งในด้านขั้นตอนการประมูลมังคุด การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการตลาด พร้อมทั้งลงพื้นที่แปลงเรียนรู้การผลิตมังคุดที่ได้มาตรฐาน เพื่อศึกษาการจัดการแปลงในพื้นที่จริง ซึ่งเกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits และเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบภายในกลุ่มฯ ต่อไป
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอท่าใหม่ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 โดยมีว่าที่พันตรีชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอท่าใหม่ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลเขาวัว มีความโดดเด่นในเรื่องการยกระดับเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน มีการขยายผลการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาไปยังเกษตรกรในชุมชนจากเดิม มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดแบบเชื้อแห้งและชนิดหัวเชื้อน้ำในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มน้ำส้มควันไม้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำหมักเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เพื่อให้เกษตรกรได้เลือกใช้ เพื่อควบคุมการระบาดของศัตรูพืชในสวนทุเรียนของตนเองได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนต้นแบบของจังหวัดจันทบุรี ที่มีการเรียนรู้ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนการจัดทำแปลงเรียนรู้การกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานสามารถเป็นต้นแบบในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วยการใช้ชีวภัณฑ์ทดแทน ส่งผลดีต่อระบบนิเวศ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกร จึงถือได้ว่าศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว เป็นศูนย์กลางในการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับชีวภาพให้ชุมชนแบบครบวงจรอย่างแท้จริง เป็นจุดเรียนรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช มีเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนา ต่อยอดสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและจังหวัดจันทบุรีต่อไปได้
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอนายายอาม และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ ครั้งที่ 2 โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม ณ วัดคลองบอน อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรชาวอำเภอนายายอามและอำเภอใกล้เคียง
การจัดแสดงนิทรรศการด้านอารักขาพืช ได้แก่ นิทรรศการ”เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ถุงห่อคัดเลือกช่วงแสง “Magik Growth ปุ๋ยคีเลต ธาตุอาหาร รอง-เสริม ระบบการให้น้ำอัจฉริยะ กับดักแสงไฟ ชีวภัณฑ์จัดการโรคและแมลง ,นิทรรศการเรื่องแมลงวันผลไม้ และการแข่งขันดักจับแมลงวันผลไม้ โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นิทรรศการเรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และแสดงผลงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตจันทบุรี นิทรรศการเรื่องดิน-ปุ๋ย จากสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี นิทรรศการเรื่อง เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี จากกลุ่มกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี นิทรรศการและแสดงผลงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีเกษตรกรมาเข้าร่วมรับบริการไม่น้อยกว่า 150 คน ถือได้ว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรที่มาจะได้รับบริการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชเบื้องต้นรวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของพืช แบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์และองค์ความรู้ด้านการเกษตร มาสู่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการเปิดงาน ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอท่าใหม่ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องเกษตรกรชาวอำเภอท่าใหม่ ณ วัดเขาลูกช้าง หมู่ 8 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมกับถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีด้านการเกษตรต่างๆ ให้แก่เกษตรกรไปในคราวเดียวกัน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่งเพราะเกษตรกรจะได้รับ บริการด้านการเกษตรแบบครบวงจรในทุกๆ ด้าน ซึ่งเป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านการเกษตร มาให้บริการแก่พี่น้องเกษตรกรถึงในพื้นที่ ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย กิจกรรมลงนามถวายพระพร พิธีถวายพระพรชัยมงคล นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ การตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ บริการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรและการบริการอื่นๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขเบื้องต้น โดยกิจกรรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วมรับบริการมากกว่า 200 ราย ทั้งนี้ หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขในวันนี้จนแล้วเสร็จจะมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดตามผลการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ต่อไป
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมพิจารณาการประกวดศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในชุมชนที่ประสบปัญหาเรื่องดินเสื่อมคุณภาพ ต้นทุนการผลิตสูง โดยยึดหลักการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาความรู้แก่สมาชิกและเกษตรกรในชุมชน ให้สามารถจัดการดินและใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ อีกทั้งเป็นแหล่งบริการผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือใกล้เคียงค่าวิเคราะห์ดิน บริการผสมปุ๋ยเคมีตามสูตร จัดหาแม่ปุ๋ยเคมี บริการเครื่องผสมปุ๋ย เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตได้
ศดปช. ตำบลตรอกนอง ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งผลิตปุ๋ยคุณภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ยังได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพและส่งเสริมให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม ถายทอดผลการดำเนินงานผ่านแปลงเรียนรู้ด้านการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุยอินทรีย์ด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะและจุดสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชน สามารถเข้ามาเรียนรู้และใช้บริการ พร้อมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อร่วมกันพัฒนาการผลิตองค์ความรู้ เป็นเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เชื่อมโยงกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่และกลุ่มอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
Continue reading →วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอแหลมสิงห์ เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะทำงานประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2567 ในการลงพื้นที่พิจารณาวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ นำโดยนางวชิรา ไฝเจริญมงคล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร ประธานคณะทำงานการประกวดฯ ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี การกล่าวต้อนรับคณะทำงานฯ ร่วมด้วยนายอำเภอแหลมสิงห์ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวชุมชนตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดำเนินกิจการภายใต้ วิสัยทัศน์ “สืบสานภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่าผลผลิต เสริมรายได้แก่ชุมชน มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล” โดยมีประธานชื่อนางวัลลี ใจเย็น มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดที่จะนำผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำมาเพิ่มมูลค่า จึงเกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ วางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในด้านต่างๆ โดยเฉพาะมังคุดที่เป็นเนื้อแก้ว ยางไหล แตกที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ นำมาแปรรูปเป็นมังคุดกวน ชีสมังคุด รวมถึงทุเรียนที่ตกเกรด จำหน่ายได้ในราคาถูก นำมาเพิ่มมูลค่าเป็นเมี่ยงคำทุเรียนกรอบ ทุเรียนทอดและแครกเกอร์หน้าทุเรียน ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุดิบเป็นผลผลิตในชุมชน โดยได้รับซื้อผลผลิตของสมาชิกในชุมชน เกิดรายได้หมนุเวียนในชุมชน ผลิตสินค้าแปรรูปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีสินค้าแปรรูปมากกว่า 20 ชนิด ผลิตภัณฑ์เด่นที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่ ต้มยำโป๊ะแตก ปูอบโอ่ง ปลาอบกระวาน เส้นจันท์ผัดปูอบกรอบ ผัดไทยกุ้งกรอบ
บริษัท รสมือจันท์ จำกัด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ได้ยกระดับมาตรฐานการผลิต การบริหารจัดการ ผ่านการจัดทำแผนธุรกิจ จนได้ก่อตั้งเป็นบริษัท รสมือจันท์ จำกัด เกิดโอกาสสำหรับช่องทางการตลาดกับคิงเพาเวอร์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ได้จำหน่ายอยู่ใน Duty Free สนามบินสุวรรณภูมิ และในปี 2567 ได้ขยายฐานการตลาดกับ บริษัท ซีพี ออลล์ ไม่เพียงเท่านี้ยังขยายกิจการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ ได้ดำเนินการในรูปแบบ “ท่องเที่ยวเชิงเกษตร” ควบคู่ไปกับ“การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร” และยังเป็นสถานที่สำหรับศึกษาดูงานให้กับผู้ที่สนใจทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำชุมชนเข้มแข็ง อีกทั้งกระบวนการผลิต สอดคล้องกับการพัฒนา 3 ด้านสอดคล้อง BCG Model มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ล้วนส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นอย่างแท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำแผนการพัฒนาแปลงใหญ่ จังหวัดจันทบุรี บุคคลเป้าหมายได้แก่ ผู้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2565-2567 ณ โรงแรมสอยดาว กู๊ดวิว รีสอร์ท ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ มีความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ เข้าใจประเด็นการพัฒนาและการขับเคลื่อนงาน ผ่านกลุ่มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ของตนเอง สามารถจัดทำแผนการพัฒนาและแผนการติดตามงานของแปลงใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการแปลงใหญ่ดีเด่น จากนางสาวบุษบา นาคพิพัฒน์ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี แปลงใหญ่ดีเด่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ ปี 2566 นางสาวดวงพร เวชสิทธิ์ รองประธานแปลงใหญ่มังคุด ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฎ และนายพิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ ฝ่ายการตลาดแปลงใหญ่มังคุด ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี หรือ แปลงใหญ่มังคุด KMK แปลงใหญ่ดีเด่น รางวัลชมเชย ระดับประเทศ ปี 2561 และรางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประเภทรวมใจแก้จน ปี 2565
เวทีเสวนานี้ถอดบทเรียนฯ ในวันนี้เป็นการพูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้ผู้ฟังมีแนวคิดในการบริหารจัดการกลุ่มได้เข้าใจประเด็นการพัฒนาและการขับเคลื่อนงาน ผ่านกลุ่มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ผลการจัดสัมมนาในวันนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานแปลงใหญ่ โดยต่างมีความเห็นตรงกันว่าแปลงใหญ่จะเป็นแนวทางที่ทำให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีของเรามีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรต่อไป
Continue reading →วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมรับพันธุ์กล้าไม้ ภายใต้โครงการ 72 ล้านต้น พลิกฟื้นผืนป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดโครงการฯ ณ โถงแสงจันทร์ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งใน 10 โครงการที่ดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฯนี้ โดยจิตอาสาทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกป่าและบำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ คืนอากาศสะอาดให้กับประชาชน โดยตั้งเป้าหมายและการปลูกป่าทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 72 ล้านต้น โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการรับจัดหาพันธุ์กล้าไม้และรวบรวมข้อมูลการปลูกต้นไม้ของทุกหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มบุคคล ถือเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมทำกิจกรรม ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและความสามัคคีของปวงชนชาวไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และร่วมกันสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการพัฒนางานด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้มีความยั่งยืนสืบไป
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรต้นแบบ ศพก. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในประเด็น Growth Mind Set & Anti Fragile การปรับความคิดรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ภายใต้หัวข้อ รู้ทันโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในไม้ผล รับมือสภาพอากาศที่แปรปรวน และการจัดการแมลงศัตรูพืชในไม้ผล พัฒนาสู่ต้นแบบเกษตรปลอดภัย โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ ดร. ธิติ ทองคำงาม และอาจารย์สุกฤตา อนุตระกูลชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี พร้อมอุปกรณ์การประกอบการบรรยายนอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ รวมถึงวิธีการจัดการในสวนของตนเองกับวิทยากรและเครือข่ายผู้เข้าร่วมอบรมรายอื่นๆ บุคคลเป้าหมายประกอบด้วยประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์เครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 ราย ณ ห้องประชุมไพลิน ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบ
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางลำไพร ปรีชาโชติ เกษตรอำเภอขลุง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ดีเด่น ประจำปี 2567 ระดับเขต นำโดยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และได้รับเกียรติจากนายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ อำเภอขลุง กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง เป็นหนึ่งในศูนย์บริการด้านดินและปุ๋ยแบบครบวงจรของจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง มีบริการตรวจวิเคราะห์พร้อมให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ย จำหน่ายแม่ปุ๋ยและปุ๋ยสูตรต่างๆ ทั้งปุ๋ยสูตรตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตรใกล้เคียงค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสูตรทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งให้บริการปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด นอกจากนี้ยังบริการให้เช่าใช้เครื่องผสมปุ๋ย และจำหน่ายผบิตภัณฑ์คุณภาพอื่นๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักคุณภาพสูง แคลเซียมโบรอน เป็นต้น มีการบริหารจัดการและการขยายผลการส่งเสริมการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต จนเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนได้ สร้างแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงบริการงานวิชาการ จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ย พร้อมจัดทำแปลงเรียนรู้ และจุดสาธิตให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสามารถศึกษาดูงานและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวณัฐกาญจน์ ศรีทิพย์ เกษตรอำเภอแหลมสิงห์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมสิงห์ ร่วมต้อนรับคณะทำงานการประกวดวิสาหกิจชุมชน ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567 โดยได้รับเกียรติจากนางสาวรัศมินท์ พฤกษาทร นายอำเภอแหลมสิงห์ กล่าวต้อนรับ ณ รสมือจันท์ (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ สาขา 2) หมู่ที่ 3 ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยนางวัลลี ใจเย็น ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ เป็นผู้นำเสนอผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา การตอบข้อซักถามของสมาชิก การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดขึ้นและสถานที่ผลิตของกลุ่มอีกด้วย
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ เริ่มจากกลุ่มเกษตรกรที่มีแนวคิดนำผลผลิตทางการเกษตรที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำมาเพิ่มมูลค่า ได้ประชุมปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันกับสมาชิกในการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน โดยจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 จากการดำเนินงานทำให้ชุมชนมีรายได้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นำเอาผลผลิตเอกลักษณ์ของเมืองจันท์มาใส่ในผลิตภัณฑ์ด้วย มีผลิตภัณฑ์เด่นที่สร้างชื่อเสียง คือ ต้มยำโป๊ะแตก ปูอบโอ่ง ปลาอบกระวาน เส้นจันท์ผัดปูอบกรอบ ผัดไทยกุ้งกรอบ สามารถนำไปเป็นของขวัญสู่ผู้บริโภคได้ ปัจจุบันได้ยกระดับก่อตั้งเป็น บริษัท รสมือจันท์ จำกัด ท้องถิ่น ภายใต้หลักคิดในการดำเนินกิจการที่ว่า “การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น” ไม่เพียงเท่านี้ยังได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้มีการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการการถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกอยู่เป็นประจำ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา 3 ด้านสอดคล้อง BCG Model ตลอดกระบวนการผลิต
จากความละเอียดอ่อนและความตั้งใจผลิตทุกขั้นตอน การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 20 ชนิด และยอดสั่งซื้อและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี จนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสถานที่ศึกษาดูงานให้ผู้ที่สนใจตลอดทั้งปี นับเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนและสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
Continue reading →วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางศิริรัตน์ สมนึก เกษตรอำเภอท่าใหม่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ ร่วมต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ดีเด่น ประจำปี 2567 ระดับเขต นำโดยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และได้รับเกียรติจากนายสานิตย์ สุจันทร์ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ ปลัดอาวุโสอำเภอท่าใหม่ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเขาวัว มีการบริหารจัดการภายใต้คณะกรรมการที่เป็นผู้นำชุมชน มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดเชื้อสด เชื้อแห้ง และหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต มีการผลิต น้ำเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง และพร้อมที่จะพัฒนา และรับเทคโนโลยี เป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ที่ให้บริการและพัฒนาให้ชุมชนอย่างครบวงจร ถือเป็นแบบอย่างของการช่วยเหลือและพึ่งพาตนเอง ถือเป็นความสำเร็จของงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่อำเภอท่าใหม่และอำเภออื่นๆในจังหวัดจันทบุรี
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด ตามโครงการพัฒนาเกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปี พ.ศ. 2567 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย Young Smart Farmer เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 60 ราย โดยมี นางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร เป็นวิทยากรกระบวนการ และมีนางลำไพร ปรีชาโชติ เกษตรอำเภอขลุง กล่าวให้การต้อนรับ ณ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่อำเภอขลุง ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมในวันนี้เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเครือข่ายเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการจัดกระบวนการให้เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นศูนย์กลางออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อมุ่งเป้าหมายให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ มีแนวคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการเป็นที่พึ่งแก่เพื่อนเกษตรกร เป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น และเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้แก่เยาวชน เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ทำให้ภาคการเกษตรเกิดความก้าวหน้า ขยายผลการพัฒนาไปสู่เกษตรกรรายอื่น ตลอดจนเป็นผู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรและองค์กรเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับเกียรติจากนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในเปิดงานฯ ณ เทศบาลตำบลวังแซ้ม หมู่ที่ 2 ตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
ภายในงานจัดให้มีบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง รับฟังสภาพปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และดำเนินการประสานความร่วมมือในการแก้ไขเบื้องต้น แก่พี่น้องประชาชนจากพื้นที่อำเภอมะขามและพื้นที่อำเภอใกล้เคียง รูปแบบดำเนินงานเป็นไปด้วยลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่างนักวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมทั้งนำอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่าง ๆ มาให้บริการในคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ถึงในระดับตำบล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการทางการเกษตรได้อย่างทั่วถึงครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมบริการมากกว่า 100 ราย ก่อให้ผลสำเร็จตามภารกิจที่รับผิดชอบในเชิงรุกทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับบริการทางการเกษตรอย่างรวดเร็วทั่วถึงและครบวงจร
นายพุฒิพงษ์ โพธิ์พานิช หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยนางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม ร่วมดำเนินกิจกรรมขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP’s Internal Control System : ICS ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีนางอมรรัตน์ ลิมป์สุคนธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ดำเนินกิจกรรมในการประเมินศักยภาพและความพร้อมเบื้องต้นของกลุ่มผู้ปลูกมังคุด 3N Fruits อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดทำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) สำหรับขอการรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม ซึ่งการขอรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม จะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่าย สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม เพิ่มอำนาจต่อรองทางด้านราคา ช่วยลดระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงานของภาครรัฐที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอท่าใหม่ เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจันทบุรี ร่วมต้อนรับคณะจากกรมการพาณิชย์มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการเดินทางมาเยือนจังหวัดจันทบุรี โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้นำในการต้อนรับ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ประชุมห้องตากสิน ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
ในการเดินทางลงพื้นที่นำโดย นาง กู้ หมิ่น (Mrs. Gu Min) รองอธิบดีกรมการพาณิชย์มลฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีความประสงค์ร่วมหารือความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตร อาทิ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมกันนี้ได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการทุเรียน ณ โรงคัดบรรจุ คุณสัญชัย วิเศษศรี (เฮียสมชาย-เจ๊หนิง) อำเภอท่าใหม่ ชมกระบวนการควบคุมคุณภาพในการส่งออก และวิธีการผลิตทุเรียนคุณภาพจาก นายยุทธยงค์ พาที แปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 7 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ พร้อมด้วยนางสาวเสาวคนธ์ นุสติ หัวหน้ากลุ่มอารักพืช นางสาวเมธินี ชาญพนา เกษตรอำเภอนายายอาม เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม ร่วมต้อนรับคณะทัศนศึกษาวิถีเกษตรยุวเกษตรกรไทย สมาคมยุวเกษตรกรสากลแห่งประเทศไทย (International Farm Youth Exchange Association of Thailand : IFYE Thailand) ณ สวนบีบี (ทุเรียนน้ำกร่อย) ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
สมาคมยุวเกษตรกรสากลแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการจัดตั้ง และได้รับการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนผ่าน IFYF ของประเทศต่างๆ ทั้งในลักษณะโครงการและรายกิจกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี ให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจากต่างประเทศ
ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 28 ราย จากหลายประเทศ อาทิเช่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรจากนางสาวบุษบา นาคพิพัฒน์ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และนางสาวธันยากร วงษ์หงส์ ตัวแทน YSF อำเภอนายายอาม และทายาทสวนบีบี พร้อมกันนี้ยังได้แลกเปลี่ยนการประสบการณ์การดำเนินงานยุวเกษตรกร และนำเสนอการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยเป็นการท่องเที่ยวที่เสริมสร้างความรู้ด้านการเกษตรควบคู่กับการพักผ่อนและความบันเทิง นักท่องเที่ยวสามารถร่วมสัมผัสวิถีชีวิต เกษตรกร ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชน รวมถึงการซื้ผลผลิตทางการเกษตรจากชุมชน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกรที่สร้างจุดขายให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมเปิดงาน “จันทบุรีเกษตรแฟร์ 2567” ชม ช้อป ชิม แชะ ผลไม้พรีเมียม สินค้าทางการเกษตร นวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อผลักดันจันทบุรีสู่การเป็น “มหานครแห่งผลไม้เมืองร้อน” ท่ามกลางบรรยากาศแบบ “Fruitival & Food” โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และนายยิ่งยศ พันธุ์เอี่ยม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
“จันทบุรีเกษตรแฟร์” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-26 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00-21.00 น. ณ ลานข้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ภายในงานมีนิทรรศการที่รวบรวมอัตลักษณ์ของผลไม้จังหวัดจันทบุรี มีการนำสินค้าแปรรูปจากผลไม้มาจัดแสดง รวมถึงมีนิทรรศการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ซึ่งถ้าเกษตรกรและผู้ประกอบการมางานนี้จะได้รับองค์ความรู้ในการนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน ส่วนในมุมของนักท่องเที่ยวก็จะได้พบกับนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดจันทบุรี และยังมีนิทรรศการภาพถ่ายของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี ที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการมาเที่ยวจันทบุรี โดยสายชิม สายช้อป พลาดไม่ได้เพราะในงานนี้ รวบรวมสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้พรีเมียม ของกินขึ้นชื่อของทั้งจังหวัดจันทบุรี และอาหารเด็ด ผลิตภัณฑ์ OTOP อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ในเวทีกลางของงานก็จะมีกิจกรรมการเสวนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร การสาธิตทำอาหารอัตลักษณ์ของจันทบุรี พร้อมการแสดงจากศิลปินชั้นนำของประเทศ พร้อมการแสดงทางวัฒนธรรมร่วมสมัย เรียกได้ว่ามางานนี้ครบทุกมิติของรสชาติแห่งความสุข”
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันฉัตรมงคล (วันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งจัดโดยศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอท่าใหม่ โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรม ร่วมด้วยหัวหน้าและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนจิตอาสา ทำความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ บริเวณวัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกิจกรรมกระจายมังคุดคุณภาพออกนอกแหล่งผลิต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับเกียรติจากนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ถือเป็นการกระจายมังคุดคุณภาพจากแหล่งผลิตในภาคตะวันออกสู่ผู้บริโภคและส่งเสริมการบริโภคไม้ผลคุณภาพภาคตะวันออกให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ณ บริเวณร้านค้าสวัสดิการกรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพ : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี , กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
Continue reading →วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี (Provincal Monthly Meeting : PM) ครั้งที่ 4/2567 โดยมีหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อชี้แจงการขับเคลื่อนนโยบายของจังหวัดจันทบุรี และกรมส่งเสริมการเกษตรสู่การปฏิบัติในพื้นที่ พร้อมหารือแนวทางการดำเนินงาน และการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรในสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีให้เป็นไปตามบทบาทความรับผิดชอบ โดยมีวาระที่สำคัญ ดังนี้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคม การเตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่การเกษตรจังหวัดจันทบุรี การดำเนินงานโครงการตรวจก่อนตัด (ทุเรียน) ปี 2567 ข้อมูลและสถานการณ์การเก็บเกี่ยวไม้ผลจังหวัดจันทบุรี พร้อมหารือกิจกรรม Press Tour และการอำนวยความสะดวกในการศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรม Big Cleaning Day โดยร่วมกันดูแลความสะอาดอาคารสถานที่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม เพื่อให้ทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทางเดินเท้า แหล่งน้ำ อาคารพัสดุ ณ บริเวณสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ซึ่งการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในวันนี้ถือเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีราชมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยจะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ตลอดทั้งปีมหามงคลนี้
นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมเกษตรอำเภอ ประจำเดือนเมษายน 2567 (Monthly Meeting) ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ ผลการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 ดังนี้ รางวัลชมเชย บุคคลทางการเกษตรดีเด่น ประเภท ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ ดาบตำรวจหญิงวรรณวิษา เมืองวงค์ รางวัลชมเชย สถาบันเกษตรกรดีเด่น ประเภท กลุ่มยุวเกษตร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองมะลิฯ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และการอารักขาพืช โครงการเพิ่มประสิทธิภาพชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน) ในฤดูกาลผลิต ปี 2567 รายงานการนำความรู้ไปปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และผลการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการวาดแปลง ปี 2567 พร้อมทั้งขอให้เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดจันทบุรี ติดตามการผลิตทุเรียนคุณภาพปลอดภัยมูลค่าสูง และรับฟังปัญหาจากเกษตรกร โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดจันทบุรี และประชาชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ณ สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานสถานการณ์การปลูกทุเรียนของภาคตะวันออกปี 2567 โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีมาตรการป้องกันควบคุมคุณภาพ โดยบูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน ในส่วนของการจัดการช่วงต้นทาง มีมาตรการตรวจก่อนตัดเพื่อตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียน ซึ่งเกษตรกรจะนำผลทุเรียนตัวอย่างมารับบริการที่จุดบริการตรวจก่อนตัด ณ สำนักงานเกษตรอำเภอและจุดให้บริการอื่นที่กำหนด เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตามแต่ละสายพันธุ์ เจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองเพื่อให้เกษตรกรนำไปแนบกับสำเนาใบรับรอง GAP และได้แนะนำให้เกษตรกรสลักด้านหลังสำเนาไว้ทุกครั้งว่าผลผลิตนั้นนำไปส่งที่ไหนอย่างไร เพื่อส่งไปยังแหล่งรวบรวมรับซื้อได้สอบทานที่รับและให้กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจสอบกำกับ
นายสุเทพ นพพันธ์ เจ้าของสวนทุเรียนนวลทองจันท์ กล่าวว่า ทุเรียนสายพันธุ์นวลทองจันทร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดจันทบุรี โดยได้ให้ความสำคัญเรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช (GAP) สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคจนเกิดการสั่งซ้ำและบอกต่อ ทำให้ทุเรียนนวลทองจันท์เป็นที่รู้จักและติดตลาด โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จากตราสินค้าและสัญลักษณ์ GI ที่ติดอยู่ข้างกล่อง นอกจากนี้การบำรุงรักษาต้นทุเรียนให้สมบูรณ์แข็งแรง สามารถต้านทาน แก้ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย นับเป็นส่วนที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลุกทุเรียน รวมไปถึงเตรียมพร้อมเพื่อการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาด้านทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกทุเรียน
ในช่วงเวลาถัดมา นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ เดินทางไปตรวจติดตามการคัดบรรจุทุเรียนคุณภาพและการแปรรูปทุเรียน และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปคุณภาพ ณ บริษัท ดราก้อน เฟรช ฟรุท จำกัด และ บริษัท เกาฟง จำกัด เพื่อชมกระบวนการคัดบรรจุทุเรียนคุณภาพ การแปรรูปทุเรียน และผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปคุณภาพ
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำ ด้านการจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน ด้านของการขนส่งโลจิสติกส์ การบูรณาการทำ One Stop Service ที่ด่านชายแดนเพื่อให้การขนส่งออกเป็นไปได้ด้วยดี การส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างแรงจูงใจให้คนมารับประทานทุเรียนและท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ในด้านปัญหาด้านแรงงานขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหาแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกรและส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการนี้ไปยังพื้นที่ปลูกทุเรียนในเขตภาคใต้ต่อไป
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมต้อนรับร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงและสหกรณ์ในการเป็นประธานการประชุม “ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิตปี 2567 ” ณ ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงคัดบรรจุผลไม้สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด และบริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ ได้ร่วมประชุม“ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิตปี 2567 ” โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้กล่าวต้อนรับ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวรายงาน พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เยี่ยมชมนิทรรศการการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและการตรวจสอบศัตรูพืชเพื่อการส่งออก โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอข้อมูลด้านสถานการณ์ไม้ผลภาคตะวันออก และการดำเนินงานมาตรการตรวจก่อนตัด (ทุเรียน) ในภาพรวมภาคตะวันออก ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะได้เดินทางไปยังโรงคัดบรรจุ สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด เพื่อตรวจติดตามการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอการสาธิตบริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียน ผลการดำเนินงานตรวจก่อนตัด ซึ่งที่ทำการสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ เป็นหนึ่งในจุดตรวจก่อนตัดที่ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเดินทางไปยังโรงคัดบรรจุ บริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อเยี่ยมชมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและมังคุดเพื่อการส่งออก เป็นจุดสุดท้ายของลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงคัดบรรจุผลไม้ พื้นที่จังหวัดจันทบุรีในวันนี้
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขอความร่วมมือเกษตรกร และมือตัดทุเรียน เก็บตัวอย่างทุเรียนที่ไม่มีร่องรอยการเปิดกรีด จำนวน 1 ผล นำมาตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ณ จุดบริการตรวจก่อนตัดที่กำหนดไว้ก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3 วัน และตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์ เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียนตัวอย่างที่ส่งตรวจให้เกษตรกรผู้ส่งตรวจ และหากไม่ผ่านเกณฑ์ให้นำตัวอย่างมาตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง ด้านผู้ประกอบการ/โรงคัดบรรจุ (ล้ง) กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขอความร่วมมือสื่อสารกับเกษตรกรและมือตัดทุเรียน ให้ปฏิบัติตามมาตรการตรวจก่อนตัดอย่างเคร่งครัด และทุกครั้งที่รับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร หรือมือตัด ต้องขอหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนทุกครั้ง ส่วนแผงรับซื้อทุเรียนในตลาดค้าส่ง ต้องขอหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนจากผู้ที่นำทุเรียนมาขาย เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ที่มาตรวจแผงรับซื้อ
Continue reading →วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มฯ/ฝ่าย เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีอันดีงามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในการนี้ได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ร่วมพิธีครั้งนี้ พร้อมกันนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้กล่าวอวยพรให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอ หัวหน้ากลุ่มฯ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์เปิดฤดูกาลผลไม้อัตลักษณ์ต้นแบบ โครงการประชาสัมพันธ์เปิดฤดูกาลและผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงงานส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในการเปิดงาน ร่วมด้วยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ณ สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ทุเรียนจันท์ (Chan Durian หรือ Tu-Rian-Jan) ได้รับการรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) หมายถึง ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์พวงมณี พันธุ์นกหยิบ พันธุ์นวลทองจันท์ พันธุ์กบสุวรรณ และพันธุ์ทางการค้า ได้แก่ พันธุ์จันทบุรี 1 ถึงพันธุ์จันทบุรี 10 ที่มีเนื้อละเอียด สีเหลือง หรือเหลืองเข้ม หรือเหลืองอมส้ม เนื้อหนาละเอียด มีเส้นใยน้อย หรือไม่มีเส้นใย รสชาติหวานมันหรือหงานแหลม ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจ ได้แก่ การเสวนา หัวข้อ การส่งเสริมผลไม้อัตลักษณ์ของไทยให้ก้าวไกลและเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงกิจกรรมให้ความรู้ การสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลไม้อัตลักษณ์ นิทรรศการผลไม้อัตลักษณ์ 9 จังหวัดภาคตะวันออก สาธิตการแปรรูปอาหารจากผลไม้อัตลักษณ์ภาคตะวันออก และ พิธีมอบรางวัลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567
การจัดงานครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ฤดูกาลผลไม้อัตลักษณ์ภาคตะวันออก สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคให้หันมาบริโภคสินค้าผลไม้อัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น สร้างเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกรในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”
วันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 13.30 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมประชุมคณะทำงานตรวจก่อนตัดระดับจังหวัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน) โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุม ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนรราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมพลอยจันท์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นำเกษตรอำเภอแก่งหางแมว เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอแก่งหางแมว ต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567 โดยได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ร่วมด้วยนายอำเภอแก่งหางแมว หัวหน้าส่วนราชการในท้องที่ เครือข่ายเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชสมุนไพรบ้านเกาะลอย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีนำเสนอผลงานโดยนายพุทธไนย ตันมณี เกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์ฯ
การประกวด ศพก. ดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และเป็นตัวอย่างในการขยายผลการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านการเกษตรในชุมชนและพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชสมุนไพรบ้านเกาะลอย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ดำเนินการในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ จากเกษตรกรต้นแบบผู้มีความรู้ความสามารถด้านพืชสมุนไพร
โดยมีความโดดเด่น คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรแบบอินทรีย์ เริ่มต้นจากการนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีนวัตกรรม พัฒนาจนได้รับตราสินค้าของกลุ่ม ใช้ชื่อว่า “พุทธรักษา” ใส่ใจตั้งแต่กระบวนการผลิต ให้ได้รับมาตรฐานตามหลักการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ พิถีพิถันในขั้นตอนการแปรรูป เพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ระบบการจัดการโรงงานแปรรูปอาหารที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ การดำเนินงานต่าง ๆ ยึดหลักที่ว่า โปร่งใสต่อสมาชิก ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า พัฒนาต่อเนื่อง ใช้การตลาดนำการผลิต ควบคุมการผลิตโดยเกษตรกรต้นแบบที่เป็นครูภูมิปัญญาไทยด้านโภชนาการและเภสัชกร แพทย์แผนไทย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงคุณประโยชน์มากที่สุด
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ประจำเดือนมีนาคม 2567 (Provincial Meeting : PM) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร T&V System โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่สำคัญ ของกลุ่ม/ฝ่าย การเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งโครงการตามตัวชี้วัดกรมส่งเสริมการเกษตร โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดที่รับผิดชอบ รวมถึงได้มีการหารือในการขับเคลื่อนงานมาตรการตรวจก่อนตัดทุเรียน ปี 2567 โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จุดบริการตรวจก่อนตัด ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งทุเรียนแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและเป็นไปตามมาตรการตรวจก่อนตัดทุเรียนของจังหวัดจันทบุรี ปี 2567
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอามและโรงเรียนมัธยมท่าแคลง ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน ในการคัดเลือกกลุ่มยุวเกษตรกร ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567 ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนมัธยมท่าแคลง นางสาวกัญญาภัค สิทธิบุศย์ ที่ปรึกษากลุ่มฯ และนางสาวธิติมา สุริยันต์ สมาชิกกลุ่มฯ
โดยมีนางนลทวรรณ มากหลาย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง เป็นประธานคณะกรรมการฯ โดยมีการนำเสนอผลงานในรูปแบบวีดีทัศน์ การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน การสาธิตการแปรรูปรังนกนางแอ่น การทำน้ำพริกนรกเห็ดนางฟ้า การทำน้ำมัลเบอรี่ และการทำสละลอยแก้ว และได้พาชมกิจกรรมการเรียนรู้ในแปลงเกษตร
ในการนี้ มีผู้เข้าร่วมชมการแสดงผลงาน และให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก ได้แก่ นายพีระศักดิ์ สนั่นเครื่อง นายอำเภอนายายอาม นายอาณัติ ชุมเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมท่าแคลง นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ผู้แทนหน่วยงานราชการ ศูนย์การศึกษาและพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดพิธีมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม ปี 2567 จังหวัดจันทบุรี โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในเปิดกิจกรรม ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
การจัดพิธีมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติฯ เป็นการมอบรางวัลให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการเกษตร ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน ประจำปี 2567 ทั้งสิ้น 6 ประเภท 27 รางวัล ได้แก่
1. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่น จำนวน 3 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศูนย์เครือข่าย วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชสมุนไพรบ้านเกาะลอย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ศูนย์เครือข่าย ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
2. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 3 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้านทับสงฆ์ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอับดับ 2 ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้านแถวคลองพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
3. วิสาหกิจชุมชนดีเด่น จำนวน 3 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคลองน้ำเค็มทันใจ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ลำไย หมู่ 5 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 วิสาหกิจชุมชนหนองอ้อล่างพัฒนา อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
4. วิทยากรด้านการทำเกษตรปลอดการเผา (Mr. Nonburn) จำนวน 10 ราย
– อำเภอท่าใหม่ นายจักรชัย เสมสฤษดิ์ การทำการเกษตรผสมผสาน ผลิตปุ๋ยหมัก/เห็ดฟาง/คลุมดิน
– อำเภอมะขาม นายวิโรจน์ มังกร การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมัก
– อำเภอขลุง นางสาวบุบผาวัลย์ บุตรพรม การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมัก
– อำเภอโป่งน้ำร้อน นางสาวศิริพร สรณะ การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมัก
– อำเภอสอยดาว นางเสาวลักษณ์ พรหมรินทร์ การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมัก/การเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF
– อำเภอเมืองจันทบุรี นายกัมพล ทรัพย์จันทร์ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
– อำเภอแก่งหางแมว นางวันเพ็ญ ผันผาย การเพาะเห็ดฟาง
– อำเภอนายายอาม นายมณี ภาระเปลื้อง การผลิตถ่านไบโอชาร์
– อำเภอเขาคิชฌกูฏ นางศิวพร เอี่ยมจิตกุศล การผลิตถ่านไบโอชาร์
– อำเภอแหลมสิงห์ นายธีรวุฒิ บ้านเนิน การผลิตถ่านไบโอชาร์
5. ผู้ขับเคลื่อนงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนจนได้รับรางวัลดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 3 รางวัล
6. บุคคลดีเด่น
6.1 ประเภทเกษตรตำบลดีเด่น
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวธัญญวรรณ สินธวัฒน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมสิงห์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นายดำรงศักดิ์ ตระกรุดทอง นักวิชากรส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่
6.2 ประเภทเกษตรอำเภอดีเด่น
– รางวัลชนะเลิศ นางลำไพร ปรีชาโชติ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง
6.3 ประเภทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดดีเด่น
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวพนิตา ชัยสิทธิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวปาริฉัตร ทัพประไพ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี มุ่งดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ สร้างผลงาน สร้างชื่อเสียง ให้กับจังหวัดจันทบุรี อันจะนำไปสู่การเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ การรวมตัวกันของเกษตรกรนับเป็นแนวทางสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตร เพราะการรวมตัวกัน นอกจากจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรอง ทั้งด้านการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตแล้ว ยังนำมาซึ่งความร่วมมือกันของหมู่คณะ ซึ่งกลุ่มมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ปัญหา สามารถพึ่งพาตนเองได้ และนำไปสู่ความยั่งยืนในอาชีพและความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดการฝึกอบรมหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพผลผลิตทุเรียนเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน GAP ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมฯ ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
การอบรมกำหนดหัวข้อบรรยาย ได้แก่ การส่งออกทุเรียนไทยไปจีน โดย ผู้อำนวยกาสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 พร้อมฝึกปฏิบัติตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน โดยชุดปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน สวพ.6 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน หรือ “ตรวจก่อนตัด” เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกร ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ผู้แทนแปลงใหญ่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยราชการ สถาบันการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มากกว่า 80 ราย ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะสามารถนำความรู้ทักษะที่ได้รับไปดำเนินการให้บริการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตทุเรียนในพื้นที่ของตนเองต่อไปได้
วันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พ้อมด้วยเกษตรอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน (Monthly Meeting) ตามระบบงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งกำหนดจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อการบริหารงาน และร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยได้วางแผนการดำเนินงาน ให้บริการตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน) เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2567 เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
เวลา 13.30 น. เกษตรจังหวัดจันทบุรี และคณะได้เดินทางไปยัง บ้านสวนร่มเย็น เพื่อติดตามการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ อำเภอนายายอาม พร้อมได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นทางการเกษตรจาก นายธรรมรงค์ ร่มพฤกษ์ YSF จังหวัดจันทบุรี ภายในศูนย์ฯ ได้ดำเนินกิจกรรม อาทิเช่น การทำเห็ดฟางจากทลายปาล์ม ลดการเผาทลายปาล์ม การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านไว้ใช้เองและขาย การจัดการพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยปัจจุบัน YSF เจ้าของศูนย์บ่มเพาะ ยังได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ผู้ที่ศึกษาดูงาน และประชาชนทั่วไปอีก
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ลงพื้นที่ร่วมการคัดเลือกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567 โดยมีนางสาวศรีสุดา พรมพิมพ์ เกษตรอำเภอแก่งหางแมว และเจ้าหน้าที่สำนักงานอำเภอแก่งหางแมว ร่วมรับฟังการชี้แจงการประกวดในครั้งนี้ ซึ่งการประกวดฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และเป็นตัวอย่างในการขยายผลการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านการเกษตรในชุมชน และพื้นที่อื่น โดยศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชสุมนไพรบ้านเกาะลอย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เป็นตัวแทนในการคัดเลือกในระดับเขต ประจำปี 2567
ศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชสุมนไพรบ้านเกาะลอย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจเกษตร เกษตรกรต้นแบบ ได้แก่ นายพุทธไนย ตันมณี ดำเนินกิจกรรมหลัก คือ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแบบอินทรีย์ ภายใต้แบรนด์ “พุทธรักษา” เป็นผลิตภัณฑ์ Organic 100 % ผลิตจากผลผลิตอินทรีย์ (Organic ) ที่สด ใหม่ ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีผ่านการคัดสรรคุณภาพอย่างดีจาก “ สวนเกษตรอินทรีย์ครบวงจรต้นแบบของจังหวัดจันทบุรี ” และจากสวนของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดจันทบุรี นำมาผลิตเป็นเครื่องดื่ม Organic มีการผลิตสินค้าตามมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ดังนี้ ได้รับเครื่องหมาย อย. , ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 จากกรมวิชาการเกษตร , ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 จากกรมวิชาการเกษตร ประเภทผลิตภัณฑ์อินทรีย์แปรรูปตราพุทธรักษา , ได้รับมาตรฐาน Good Hygiene Practices (GHPs) , มาตรฐาน HACCP และมาตรฐานตราฮาลาล การประกวดฯ ศพก. ดีเด่น กำหนดให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดระดับเขต พิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรดีเด่น ศพก. ที่ได้คะแนนสูงที่สุด เป็น ศพก.ดีเด่น และได้รางวัลชนะเลิศ คะแนนรองลงมาได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชย ตามลำดับ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ร่วมกับคณะกรรมการฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไป
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย นางศิริรัตน์ สมนึก เกษตรอำเภอท่าใหม่เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ ร่วมลงพื้นที่เพื่อดำเนินงานในโครงการ “ระบบวิเคราะห์พื้นที่ปลูกพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและปัญญาประดิษฐ์ ณ จังหวัดจันทบุรี” โดยมีนางดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้นำคณะในการลงพื้นที่ ร่วมด้วยนางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ณ สวนรินรดี ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
โครงการ “ระบบวิเคราะห์พื้นที่ปลูกพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและปัญญาประดิษฐ์” ดำเนินการโดยบริษัท ไทย แอดวานซ์ จำกัด (ไทยเอไอ) โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและปัญญาประดิษฐ์ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อจำแนกพื้นที่ปลูกพื้นที่ปลูกทุเรียนออกจากพืชชนิดต่างๆ โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลพื้นที่ปลูกทุเรียนเชิงภูมิศาสตร์
วันที่ 1 มีนาคม 2567 ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ และเกษตรจังหวัดจันทบุรีและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการใช้ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรร่วมกับการสำรวจยืนยันพื้นที่ (Ground Truth Survey) ในการสร้างและทดสอบแบบจำลอง (Train & Test Model) ประมวลผลร่วมกับข้อมูลดาวเทียม Artificial Intelligence and Machine Learning โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีพร้อมสนับสนุนข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ปลูกทุเรียนต่อไป ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนางเบญญาภา อ่อนศรี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นางสาวจารุวรรณ ทองใบ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร นางสาวสวรส แดงท่าขาม เกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ ร่วมพิธีส่งมอบ “โครงการวางระบบบัญชีต้นแบบให้วิสาหกิจชุมชน” เพื่อมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มุ่งเน้นในเรื่องการผลิต สามารถผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้ ซึ่งจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน ในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เข้มแข็งต่อไป ร่วมด้วยนางวชิรา ไฝเจริญมงคล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร นายจิรวุฒิ สุวรรณอาจ พาณิชย์จังหวัดจันทบุรี ผศ.ดร.วิลาสินี วงศ์แก้ว หัวหน้าภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้แทน PEAK ผู้แทน สำนักงานบัญชี MMN Syndicate ผู้แทน PwC ณ วิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่คิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมเกษตรอำเภอ (Monthly Meeting : MM) ประจำเดือนกันยายน 2566 โดยผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอ ผู้แทนจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพจังหวัดจันทบุรี ก่อนการประชุมได้มอบรางวัลผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในปี 2566 ระดับประเทศ โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้แทนเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรในการรับรางวัล ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 แปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และรางวัลชมเชยศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ที่ประชุมได้วางแผนการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ณ วิสาหกิจชุมชนศศิธรการสุรา หมู่ที่ 9 ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 4 -5 เมษายน 2566 กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ร่วมกับผู้แทนคณะกรรมการขับเคลื่อน
งานด้านการเกษตรระดับจังหวัด ลงพื้นที่เพื่อพิจารณาคัดเลือกแปลงใหญ่ดีเด่น (รอบที่ 2 จัดลำดับ)
ณ ที่ทำการปลุ่มแปลงใหญ่ จำนวน 3 แปลง โดยมีผลการพิจารณา ดังนี้
รางวัลชนะเลิศได้แก่ แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ แปลงใหญ่มังคุด หมู่ 5 ตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2 แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 4 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งแปลงใหญ่ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะเป็นตัวแทนจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมในระดับเขตต่อไป
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มฯ เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมจัดงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 และร่วมออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ (จังหวัดเคลื่อนที่) ตามโครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน แบบพุ่งเป้าทุกมิติอย่างยั่งยืน จังหวัดจันทบุรี ภายในงานได้จัดใบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การฝึกอาชีพ และการตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการจัดงานครั้งนี้ และนางสาวรัศมินท์ พฤกษาทร นายอำเภอแหลมสิงห์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ณ เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนจุดบริการตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนก่อนตัด) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พร้อมประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือเกษตรกรและมือตัดนำตัวอย่างทุเรียนตรวจก่อนตัดได้ ณ จุดบริการที่กำหนดโดยสามารถตรวจได้ถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2566 เพื่อป้องกันปัญหาการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด
วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566 นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร เกษตรอำเภอมะขาม เกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอ เข้าร่วมกิจกรรม “ครอบครัวพบหน้า ตัดผัก เผาปลา สืบสานประเพณีสงกรานต์” ซึ่งจัดโดยคณะทำงานผู้ประสานงานเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดจันทุบรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกรรุ่นใหม่ อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ไทย โดยร่วมกันสรงน้ำพระพุทธ เพื่อเป็นสิริมงคล รดน้ำขอพร แขกผู้ใหญู่/อาวุโสที่เคารพนับถือร่วมกันรับประทานอาหารร่วมกัน พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่กัน ณ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดจันทบุรี ตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี